แนวข้อสอบอนุศาสนาจารย์ กองบัญชาการกองทัพไทย

แนวข้อสอบอนุศาสนาจารย์ กองบัญชาการกองทัพไทย

แนวข้อสอบอนุศาสนาจารย์ กองบัญชาการกองทัพไทย

สำหรับท่านที่ อยากเตรียมสอบ
สอบอนุศาสนาจารย์ กองบัญชาการกองทัพไทย
หา คู่มือสอบอนุศาสนาจารย์ กองบัญชาการกองทัพไทย
หนังสือสอบอนุศาสนาจารย์ กองบัญชาการกองทัพไทย
ทาง NUDSOB ได้รวบรวม แบ่งปัน
ตัวอย่าง ข้อสอบอนุศาสนาจารย์ กองบัญชาการกองทัพไทย
เพื่อเป็นความรู้ และแนวทางในการสอบให้กับทุกๆท่าน

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)

1.การทอดกฐิน สิ่งที่ขาดไม่ได้เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด คือ
ตอบ ผ้าไตรจีวร เป็นมูลเหตุเกิดประเพณี
2.การรณรงค์วัฒนธรรมไทยให้คนไทยได้มีสำนึกถึงความเป็นไทยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเป็นสำคัญ
ตอบ สถาบันทางสังคม เพราะ เป็นแบบแผนในการกระทำ การคิด หรือความประพฤติของมนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ที่ยึดถือร่วมกัน
3.มารดาบิดาที่เลี้ยงบุตรให้เป็นสุข ส่งเสียให้ได้รับการศึกษาอบรมแสดงว่าปฏิบัติธรรมข้อใด
ตอบ เมตตา-ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
4.การปกครองคณะสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขสงฆ์และมีสมเด็จพระราชาคณะอีก
ตอบ 8รูป และ พระราชคณะแต่งตั้งอีก 12 รูป
5.ลักษณะวัฒนธรรมไทยที่สำคัญที่สุด คือ
ตอบ มีลักษณะของความเป็นไทย, มีแบบแผนทางพิธีกรรม, ยึดถือการทำบุญกุศล, แสดงออกสนุกสนาน, ผูกพันการเกษตร ฯลฯ
6.การนิมนต์พระมาที่บ้าน 5 รูปแสดงว่าทำพิธีใด
ตอบ เจริญพระพุทธมนต์ อย่างต่ำ 5 รูป ,7รูป ,9 รูป ไม่เป็นจำนวนคู่ แต่พิธีหลวงปัจจุบัน
มักอาราธนาพระเป็นคู่ เช่น 10 รูป เป็นต้น งานแต่งงาน 10 รูป( บ่าว-สาว นิมนต์ฝ่ายละ 5 รูป ) สวดอภิธรรมศพ 4 รูป
7.การพบกระเป๋าสตางค์หล่นแต่ไม่เก็บเอาเป็นของตนเอง ประกาศหาเจ้าของ คือ มีเจตนางดเว้นการทำผิดศีลที่เรียกว่า
ตอบ สัมปัตตวิรัติ หมายถึง เจตนางดเว้นเมื่อพบเหตุการณ์เฉพาะหน้า
8.ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ที่ว่า “ท่านทั้งหลายจงยังกิจของตนและผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” สอดคล้องกับ มรรค 8 ข้อ
ตอบ สัมมาสติ – การระลึกชอบ
9.การทอดกฐิน จะทำในเดือนใด
ตอบ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 – วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
10.อิทธิบาท 4 ข้อที่ว่า วิมังสา หมายถึง
ตอบ ความคิดค้น ใช้ปัญญาพิจารณางาน คือ เข้าใจทำงาน

11.ฟังปาติโมกข์ หรือลงปาติโมกข์ กระทำในวัน
ตอบ วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือเดือน 4 ปีอธิกมาส , วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระพุทธ
เจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก – เว้นชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์
12.เมตา กรุณา เป็นพื้นฐานช่วยให้เบญจศีลข้อใดรักษาได้ง่ายขึ้น
ตอบ ปาณาติบาต
13.การศึกษาของพระสงฆ์ตามที่ทางคณะสงฆ์กำหนด ได้แก่
ตอบ 1.การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
2.การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
3.การศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ซึ่ง แบ่งได้เป็น 2 สถาบัน คือ 1.มหามกุฎราชวิทยาลัย ศน.บ. (ศาสนศาสตรบัณฑิต)วัดบวรนิเวศวิหาร 2.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พธ.บ. (พุทธศาสตรบัณฑิต) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
14.การศึกษาในทางพุทธศาสนามี 2 ประเภท คือ
ตอบ 1.คันถธุระ คือ การศึกษาพระปริยัติธรรม 2. วิปัสสนาธุระ คือ การปฏิบัติตาม
พระพุทธวัจนะเพื่อบรรลุมรรคผลเบื้องสูง
15.พระไตรปิฎก ประกอบด้วย
ตอบ 1.พระวินัย 2.พระสูตร 3.พระอภิธรรม
16.เจตนารมที่แท้จริงในการเผยแผ่ศาสนาของพระพุทธเจ้า คือ
ตอบ เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน
17.วันอาสาฬหบูชา พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ทรงแสดงธรรมครั้งแรก ชื่อ
ตอบ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
18.การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ จัดอยู่ใน
ตอบ สหธรรม- การอยู่ร่วมกัน
19.การกราบพระรัตนตรัยมี 3 จังหวะ คือ
ตอบ 1.อัญชลี 2.วันทา 3.อภิวาท
20.สมานัตตตา แปลว่า วางตัวเหมาะสม เสมอภาค สมกับฐานะตน ตรงกับคำพังเพยหรือสำนวนไทย
ตอบ นกน้อยทำรังแต่พอตัว
21.คนว่ายาก ดื้อรั้น กระด้าง ไม่ยอมฟังเหตุผลใดๆ จากผู้ใดทั้งสิ้น ควรแก้ไขด้วยการปฏิบัติธรรม
ตอบ โสวจัสสตา – ความเป็นผู้ว่าง่าย

22. ใบพ้อพันห่อ หุ้มกฤษณา
หอมระรวยรสพา เพริศด้วย
คือคนเสพเสน่หา นักปราชญ์
ความสุขซาบฤาม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม
โคลงบทนี้สอดคล้องคุณธรรมใด
ตอบ ( กัลยาณมิตตตา – มีคนดีเป็นเพื่อน อยู่ในหมู่นักปราชญ์อาจฉลาดด้วย )
23.วัดที่จะรับกฐินจะต้องมีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในวัดนั้นตลอด 3 เดือน โดยไม่ขาดพรรษาอย่างน้อย
ตอบ จำนวน 5 รูป
24.สิ่งของที่ขาดไม่ได้ในการทอดผ้าป่า คือ
ตอบ ผ้าบังสุกุล – ผ้าเปื้อนฝุ่นไม่มีเจ้าของหวงแหน
25. “ โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ” นี้เป็นคำกล่าวของ พระรัฐปาลเถระ การที่จะแก้ปัญหาให้คนรู้จักอิ่ม รู้จักพอนั้นควรแก้ด้วยนาถกรณธรรมข้อใด
ตอบ สันตุฏฐี – สันโดษ , มีความพอใจตามกำลังความสามารถของตน ไม่ละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ฟุ่มเฟือย ได้อย่างไรใช้อย่างนั้น
26.สิ่งต่างๆที่สมาชิกในสังคมประดิษฐ์ขึ้น เป็น
ตอบ สหธรรม
27.ในฐานะเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อเห็นชายคนหนึ่งเป็นคนยากจนมาก อยู่แบบอดๆอยากๆ ควรปฏิบัติต่อชายผู้นั้นอย่างไร
ตอบ แนะนำ หลักธรรมสำหรับสร้างฐานะให้
28.พุทธศาสนาแพร่เข้ามาในแผ่นดินไทย ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 300 คนไทยนับถือพุทธศาสนา
ตอบ ประมาณก่อน พ.ศ.300 นิกายเถรวาท –
หินยาน , พ.ศ.1300 นิกายมหายาน , พ.ศ.1600 นิกายเถรวาทแบบพุกาม , นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ พ.ศ.1800 จนถึงปัจจุบัน
29.เอกลักษณ์ของชาติไทย คือ
ตอบ สิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทย ได้แก่ ภาษาไทย การแต่งกาย ความเคารพ สถาปัตยกรรม ประเพณี ฯลฯ

30.พระสงฆ์ หมายถึง
ตอบ พระตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป , ภิกษุ ภิกษุณี
31.จัดหมวดหมู่ธรรม
ตอบ 1.อิทธิบาท 4 คือ เครื่องให้ถึงความสำเร็จ หนทางแห่งความสำเร็จ ธรรมะทำให้ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ 1.ฉันทะ – ความชอบ 2.วิริยะ – ความเพียรพยายาม 3.จิตตะ – ใส่ใจ 4.วิมังสา – พิจารณาใคร่ครวญ
2.พรหมวิหาร 4 คือธรรมะสำหรับผู้ปกครองคน ( พ่อ – แม่ ) …1.เมตตา – ปารถนาให้ผู้อื่นมีสุข 2.กรุณา – สงสารผู้อื่นเมื่อตก ทุกข์ 3.มุทิตา – ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี 4.อุเบกขา – ความเป็นกลาง
3.อคติ 4 ความลำเอียง ได้แก่ 1.ฉันทาคติ – เพราะรัก 2.โทสาคติ – เพราะชัง 3.โมหาคติ – เพราะเขลา 4.ยาคติ –เพราะกลัว
4.สังคหวัตถุ 4 ธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ ได้แก่ 1.ทาน – การแบ่งปันสิ่งของ 2.ปิยวาจา – วาจาไพเราะน่ารัก 3.อัตถจริยา – บำเพ็ญประโยชน์ 4.สมานัตตตา – วางตนให้เหมาะสม
32.ความหมายที่ควรรู้
ตอบ ศรัทธา – เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ขันติ – อดทน ถอนตัวจากความชั่ว
ศีล – รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย อุเบกขา – ความเที่ยงธรรม
สุตะ – ตั้งใจสดับฟัง หมั่นเล่าเรียนศึกษา อัตถจริยา — บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
จาคะ – สละให้ปันสิ่งของๆตนแก่คนที่ควรให้(บริจาค) สัจจะ – ความซื่อสัตย์ต่อกัน
33.รากเหง้าของความพยาบาท คือ
ตอบ อวิชชา – ความไม่รู้ : รติ – ความชอบใจ, อรติ – ความไม่พอใจ, วิชชา – ความรู้
34.วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อเยาวชนไทยมากที่สุด คือ
ตอบ ด้านวัตถุ
35.หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา มี 84,000 พระธรรมขันธ์ มีทั้งหมด
ตอบ 45 เล่ม
36.ประเพณีของสังคมไทยที่สะท้อนค่านิยมในเรื่องความกตัญญูกตเวทีได้เป็นอย่างดี คือ
ตอบ การทำบุญวันเกิด
37.ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมชนบท คือ
ตอบ วัฒนธรรมตะวันตก

38.ลักษณะเด่นที่สุดของพระพุทธศาสนา คือ
ตอบ เป็นศาสนาแห่งเหตุและผล , สัจธรรม ความจริง
39.ปฏิสวะ คือ
ตอบ การฝืนคำรับ , รับแล้วไม่ทำตามนั้นทั้งที่พอจะทำได้อยู่
40. อนุโลมมุสา
ตอบ 1.ส่อเสียด 2.ประชด 3.สับปลับ
41.หลักวินิจฉัยความหนักเบาของบาปกรรม มี 3 ประการ คือ
ตอบ 1.วัตถุ 2.เจตนา 3.ประโยค
1.วัตถุ – เรื่อง,สิ่ง,ที่ดิน,ข้อความ,ที่ตั้งของเรื่อง หมายถึง บุคคลผู้เป็นที่ตั้งแห่งการทำกรรมของ
สงฆ์
2.เจตนา – ความตั้งใจ , ความมุ่งใจหมายกระทำ
3.ประโยค – การประกอบ , การกระทำ , ความพยายาม
42.เจ้าอธิการ คือ
ตอบ เจ้าอาวาส
43.พระครูพิศาลวรกิจ พระพิพิธธรรมสุนทร พระราชปริยัติวิธาน พระเทพสุธี รูปที่สมณศักดิ์สูงกว่ารูปอื่นคือ
ตอบ พระเทพสุธี
44.ผู้พูดคำหยาบเป็นผู้สร้างเสนียดขึ้นในตัวเองจนสิ้นเสน่ห์ถ้าเราอยากมีเสน่ห์ควรประพฤติ
ตอบ ปิยวาจา
45.เบญจศีลที่รับประกันว่า สติสัมปชัญญะ ของคนจะไม่ถูกทำลาย หรือเสียสติ คือ
ตอบ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
46.ในชีวิตผู้ครองเรือน ความสุขที่สำคัญที่สุด คือ
ตอบ อณวัชชสุข – สุขจากการทำงานปราศจากโทษ
47.หลักคำสอนเรื่องการหาทรัพย์ว่า “ อย่านอนตื่นสาย อย่าหน่ายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา คำว่าอย่านอนตื่นสาย ” หมายถึง
ตอบ อุฎฐานสัมปทา – ขยันหา
48.หลักธรรมที่ทำให้คู่ครองอยู่กันได้ตลอดไป ต้องมีสิ่งสมกัน 4 ข้อ คือ
ตอบ 1.สมศรัทธา 2.สมสีลา 3.สมจาคา 4.สมปัญญา

49.กรรมการมหาเถรสมาคม คือ
ตอบ สมเด็จพระสังฆราช เป็น ปธ. , พระราชาคณะ 8 รูป ,พระราชคณะแต่งตั้ง 12 รูป ,อธิบดีกรมศาสนา-เลขา
50.เจ้าคณะใหญ่หนกลางมีหน้าที่ คือ
ตอบ ดูแลพระสงฆ์ในเขตภาคกลาง
51.ก่อนปรินิพพานทรงแสดงปัจฉิมโอวาท เรียกว่า อัปปมาทธรรม
ตอบ ให้ยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
52.พระพุทธพจน์ที่บันทึกไว้ในพระอภิธรรมปิฎก มี
ตอบ 42,000 พระธรรมขันธ์
53.อาหารที่ปรุงจากเนื้อ 10 ชนิด ที่มีพุทธบัญญัติ ห้ามไม่ให้ฉัน
ตอบ 1.มนุษย์ 2.ม้า 3.หมา 4.หมี 5.ราชสีห์ 6.ช้าง 7.งู 8.เสือโคร่ง 9.เสือดาว 10.เสือเหลือง
54. “การง่ายไม่ดีกว่าการยาก ความลำบากดีกว่าสุขสบาย ความชั่วทั้งหลายเกิดจากตามใจตัวเอง ความดีทั่วไปต้องฝืนใจทำ”คำสอนนี้มุ่งให้ปลูกฝังคุณธรรมใด
ตอบ ทมะ – ความฝึก ความหยุด ความข่ม
55.“อยู่เรือนพังยังดีไม่มีทุกข์ ดีกว่าคุกหลายเท่าไม่เศร้าหมอง” แสดงว่าควรปฏิบัติธรรมหมวดใด
ตอบ ฆราวาสธรรม
56.พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถามว่า สมุทัย คือ
ตอบ ตัณหา ความทะยานอยาก เป็นเหตุแห่งทุกข์
57.ไม่เย่อหยิ่งจองหอง รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น คือ
ตอบ สหธรรม
58.อนวัชชสุข คือ
ตอบ สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ
59.สิทธัตถะ แปลว่า
ตอบ ผู้สำเร็จในสิ่งอันพึงประสงค์ทุกประการ
60.พุทธจริยา
ตอบ 1.โลกัตถจริยา – เพื่อชาวโลก 2.ญาตัตถจริยา – เพื่อพระยูรญาติ 3.พุทธัตถจริยา – ฐานะเป็นพระพุทธเจ้า

61.ธรรมมีอุปการะมาก
ตอบ สติ สัมปชัญญะ – ระลึกได้ รู้ตัว
62.พระจริยาวัตร
ตอบ 1.มีเมตตาอย่างสูงยิ่ง 2.มีความพรากเพียรสูงยิ่ง 3.ใฝ่รู้และแก้ปัญหาด้วยปัญญา 4.เป็นนักเสียสละ
63.พุทธกิจ
ตอบ เช้าบิณฑบาต เย็นประกาศสัจธรรม ค่ำแนะนำสาวก คืนถกปัญหาเทวดา ใกล้รุ่งตรวจตราสัตว์โลก
64.บุคคลผู้หาได้ยาก
ตอบ บุพการี – ผู้ทำอุปการคุณมาก่อน , กตัญญูกตเวที – ผู้อุปการคุณแล้วตอบแทน
65.ธรรมะทำให้งาม
ตอบ ขันติ – ความอดทน , โสรัจจะ – ความสงบเสงี่ยม
66.สัญลักษณ์ในการบูชา
ตอบ 1.ธูป บูชาพระคุณพระพุทธเจ้า 3 ได้แก่ 1.พระปัญญาคุณ 2.พระวิสุทธิคุณ 3.พระมหา
กรุณาธิคุณ
2.เทียน บูชาพระธรรมวินัย หรือ โลกิยธรรม โลกุตลธรรม
3. ดอกไม้ บูชาพระสงฆ์
67.การจุดธูป
ตอบ 1 ดอก – ไหว้ศพ
3 ดอก – บูชาพุทธคุณ 3 ประการ
5 ดอก – บูชาพระรัตนตรัย 3 บิดามารดา 1 อาจารย์ 1 หรือ บูชาพระ พุทธเจ้า 5 พระองค์
ได้แก่ กกสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ โคตมะ ศรีอริยะเมตตรัย7 ดอก – บูชาโพชฌงค์ 7 หรือ วันทั้ง 7,
9 ดอก – บูชาพุทธคุณ 9 หรือ บูชาพระภูมิเจ้าที่ 9 องค์
68.ตั้งโต๊ะหมู่บูชา นิยมพระพุทธรูป
ตอบ ปางสมาธิ – ปางมาวิชัย ตามลำดับ
69.การกรวดน้ำ
ตอบ พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคนแรกที่ทำ
70.การเรียกเณร และพระสงฆ์
ตอบ เณร – รูป , พระ – องค์ , รูป

71.เกี่ยวกับสถาบันชาติ ทหารมีบทปลงใจว่า
ตอบ ชาติของเราเป็นไทยอยู่ได้ จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้ เพราะบรรพบุรุษของเรา เอาเลือด เอา
เนื้อ เอาชีวิต และความลำบากอยากเข็นเข้าแลกเอาไว้ เราต้องรักษาชาติ เราต้องบำรุงชาติ เราต้องสละชีพเพื่อชาติ
72.สถาบันชาติ ได้แก่
ตอบ 1.ดินแดน 2.ทรัพยากรธรรมชาติ 3.ประชาชน
73.หลักวินิจฉัยบาปเมื่อกระทำผิดศีลว่าจะมากหรือน้อยนั้น วิธีการฆ่า ถ้าฆ่าโดยวิธีทรมานมากก็บาปมาก ตรงกับ
ตอบ ประโยค
74.ผู้มีอิทธิพลที่ชอบเบียดบังหรือปทุษร้ายต่อทรัพย์สินของผู้อ่อนแอกว่า เขาขาดเบญจธรรมข้อใดมากที่สุด
ตอบ สัมมาชีพ
75.หากเปรียบศาสนพิธีเท่ากับต้นไม้ ควรเป็นส่วนใดของต้นไม้
ตอบ เปลือกไม้ – ช่วยรักษาแก่น ซึ่งคือหลักธรรมคำสอน
76.เมืองไทยเราได้ชื่อว่า “สยามเมืองยิ้ม” เพราะคนไทยยิ้มแย้มแจ่มใส คำว่า “ยิ้มแย้มแจ่มใส” บ่งบอกถึงคุณลักษณะของคนไทยข้อใด
ตอบ นิสัย
77.ที่บูชาประจำกองร้อย ทบ.กำหนดให้ใช้พระพุทธรูปใดประดิษฐานที่โต๊ะหมู่
ตอบ พระพุทธสิงห์ชัยมงคล
78.พระอยู่ในที่ใดกับผู้หญิงสองต่อสองไม่ได้
ตอบ ในที่ลับหูลับตา ต้องไม่เข้าไปหาในกุฏิ
79.พระพุทธสิงห์ชัยมงคล ประจำกองร้อย ทบ. เป็นพระพุทธรูปปาง
ตอบ มารวิชัย สมัยเชียงแสน
80.พื้นของคนคือศีล 5 การดูแลพื้นคนก็ดูที่รอยร้าว 5 อย่าง คือ
ตอบ 1.โหดร้าย 2.มือไว 3.ใจเร็ว 4.ขี้ปด 5.หมดสติ
81.คุณสมบัติของมิตรที่ว่า “เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ ให้เกินกว่าที่ออกปาก” คือ มิตรประเภท
ตอบ มิตรมีอุปการะ
82.ในการจัดสถานที่ทำบุญต้องมีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ควรมีพานพุ่มจำนวนกี่พาน
ตอบ 3 พาน คือ 1.พุ่มทอง 2.พุ่มเงิน 3.พุ่มเพชร

83.อัตถจริยา ในสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์กับธรรมข้อใดในนาถกรณธรรม
ตอบ กิงกรณีเอสุ ทักขตา
84.ความเป็นผู้มีน้ำใจ จัดเป็นธรรมะข้อใด ในสังคหวัตถุธรรม 4 ประการ
ตอบ ทาน – การให้ เสียสละ แบ่งปัน
85.สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ ได้แก่
ตอบ 1.อัตถิสุข 2.ปริโภคสุข 3.อนณสุข 4.อนวัชชสุข
86.หลักการสงเคราะห์( สังคหวัตถุ 4 ) ได้แก่
ตอบ 1.ทาน – การให้ 2.ปิยวาจา – พูดคำสุภาพน่ารัก 3.อัตถจริยา – ทำตนให้เป็น
ประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญญาความรู้ความสามารถ ทรัพย์และเวลา 4.สมานัตตตา – วางตนเสมอตนเสมอปลาย
87.เบญจศีล ข้อใดไม่มีในกุศลกรรมบท 10
ตอบ ข้อ 5 , กุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ กาย 3 ,วจี 4 , มโน 3
88.จ.ส.อ.ดำฯ ป่วยเป็นโรคเอดส์ เกิดความเข้าใจผิดกับภรรยาถึงขั้นหย่าร้าง เพราะประพฤติผิดเบญจศีลข้อใด
ตอบ ต้องรู้สาเหตุก่อน
89.ศีล หมายถึง
ตอบ การควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ในสภาวะปกติ
90.การแยกนิกายของคณะสงฆ์ไทย เป็นเพราะปัญหาเรื่องใด
ตอบ การผิดวินัยสงฆ์
91.มโนสุจริต ตรงกับข้อใด
ตอบ ไม่พยาบาทมุ่งร้ายต่อใคร
92.ในการรักษาศีลข้อที่สำคัญที่สุด คือ
ตอบ วิรัติ – การตั้งเจตนา
93.การรับสินบน หากผู้รับมีเจตนาร่วมกับผู้ให้ในการทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งเป็นการร่วมทำโจรกรรม อยากทราบว่า ศีลข้อ 2 ขาดหรือไม่
ตอบ ขาดแน่นอนเพราะมีเจตนาร่วม , ถ้าไม่เจตนา – ศีลด่างพร้อย
อนุโลมโจรกรรม – ปลอกลอก สมโจร รับสินบน ฉายาโจรกรรม – ผลาญ หยิบฉวย

94.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรับเอาพระพุทธศาสนานิกายใด ไปเผยแผ่ในกรุงสุโขทัย และเป็นศาสนาประจำชาติไทยจนถึงปัจจุบันนี้
ตอบ เถรวาท แบบลังกาวงศ์
95.ธรรมะที่ส่งเสริมความสามัคคีที่สำคัญมี 2 ข้อ ซึ่งหากขาดธรรมะนี้ ก็จะมีแต่ความแตกแยก ธรรมะที่ว่านี้คือ
ตอบ ขันติ จาคะ
96.สุภาพสตรีที่ยึดถือคำพังเพยที่ว่า “อย่าชิงสุกก่อนห่าม” แสดงว่าเธอตั้งใจปฏิบัติจะปฏิบัติตามเบญจธรรมข้อใด
ตอบ ข้อ 3
97.เยาวชนวัยรุ่นในยุคนี้ หันไปนิยมแบบฝรั่ง เช่น ใส่เสื้อสายเดี่ยว เป็นต้น นั้นเป็นเพราะขาดวัฒนธรรม
ตอบ วัตถุธรรม
98.ด้ายสายสิญจน์
ตอบ เริ่มวงด้ายสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชา วงรอบอาคารบ้านเรือนโดยวงเวียนขวา เหมือนเลขหนึ่งไทย แล้วมาวนสิ้นสุด ที่ใต้ฐานพระพุทธรูป
99.จ.ส.อ.ดำฯ เป็นสุภาพชนในทุกสถานที่ รักพวกพ้องและผูกมิตรไมตรีกับคนต่างพวก แสดงว่าเขามีวัฒนธรรม
ตอบ สหธรรม
100.เบญจางคประดิษฐ์ มีจังหวะการปฏิบัติ
ตอบ 1อัญชลี 2.วันทา 3.อภิวาท
101.ธรรมะที่ใช้ในการปรับแก้พฤติกรรมมนุษย์มิให้ประพฤติผิดเบญจศีล ข้อสุดท้าย คือ
ตอบ สติ
102.หลักการอยู่ร่วมกัน ( สาราณิยธรรม 6 ) ซึ่งทำให้สังคมเกิดความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ( เอกิภาวะ ) ใช้หลักคุณธรรมอะไรเป็นพื้นฐานในการทำ การพูด และการคิด
ตอบ ปรารถนาดีต่อกัน
103.หลักธรรมเพื่อให้บุคคลพึ่งตนเองได้ ( อัตตา หิ อัตตะ โน นาโถ ) ถ้าถือตามหลักมงคลชีวิตแล้ว ต้องปฏิบัติตามข้อใดก่อน
ตอบ การศึกษาเล่าเรียน
104.ประเทศไทยของเราในยามที่เหตุการณ์บ้านเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติทุกครั้งที่ผ่านมา สถาบันมีบทบาทสำคัญมากที่สุด
ตอบ พระมหากษัตริย์

105.ธรรมะข้อใดที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตคู่ คือ สามีภรรยา
ตอบ สมชีวิตาธรรม 4
106.การกระทำที่ไม่ถือว่าผิดศีล ข้อ 4
ตอบ พูดโดยไม่เจตนาจะพูดให้ผิด
107.ลักษณะที่ไม่พึงปรารถนาของคนไทยต่อไปนี้ ข้อใดที่ไม่ควรมีในสังคมทหาร
ตอบ หย่อนระเบียบวินัย
108.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดสังฆรัตนะ
ตอบ วันอาสาฬหบูชา – วันพระสงฆ์
109. “เลือกที่รัก ผลักที่ชัง” ตรงกับอคติ 4 ข้อใด
ตอบ ฉันทาคติ โทสาคติ
110.ธรรมะที่จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน
ตอบ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา , สัจจะ ทมะ ขัติ จาคะ , อัตถิสุข ปริโภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข
111.ความสันโดษ ( สันตุฏฐี ) หมายถึง
ตอบ ความพอเพียง พอดี ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์อันประเสริฐ
112.สุจริต แปลว่า ความประพฤติดี มี 3 อย่าง คือ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา และทางใจอยากทราบว่าข้อใดเป็นความประพฤติดีทางใจ ( มโนสุจริต )
ตอบ ไม่โลภ
113.สาธารณโภคี หมายถึง
ตอบ การแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาโดยชอบธรรม
114.คณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันเป็นนิกายเถรวาท ต่อมาแบ่งเป็น 2 นิกาย คือ มหานิกาย กับ ธรรมยุติกนิกาย โดยธรรมยุติกนิกายเกิดขึ้น ในรัชสมัยใดของกรุงรัตนโกสินทร์
ตอบ รัชกาลที่ 3 – โดยภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ( ร.4 )
115.หลักการที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา 3 ประการ คือ 1.เว้นชั่ว 2.ทำดี 3.ฝึกจิตให้ผ่องใส สัมพันธ์กับ
ตอบ วันมาฆบูชา – โอวาทปาฏิโมกข์
116.จ.ส.อ.ดำฯ สามารถสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรได้สำเร็จแสดงว่ามีธรรมะข้อใดมากที่สุด
ตอบ พาหุสัจจะ – ศึกษาเล่าเรียนมาก เข้าใจลึกซึ้ง : กัลยาณมิตตตา – คบคนดี , โสวจัสสตา – ว่าง่าย สอนง่าย , กิงกรณีเยสุ ทักขตา – ใส่ใจหมู่คณะ

117.เอกลักษณ์ที่เด่นชัดที่สุดของคนไทย คือ
ตอบ รักอิสระ
118.วัฒนธรรมประเพณีอันดีของชาติประการหนึ่งคือ ความกตัญญูกตเวที ซึ่งจัดอยู่ในธรรมะประเภท
ตอบ ธรรมะมีอุปการะมาก
119.พระพุทธศาสนา “เถรวาทแบบลังกาวงศ์” มีพระสงฆ์นำเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยที่
ตอบ นครศรีธรรมราช
120.ลำดับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ตอบ วันมาฆบูชา – วันวิสาขบูชา– วันอัฏฐมีนบูชา – วันอาสาฬหบูชา
121.สมัย ร. 8 เริ่มการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย แปล 2 ประเภท
ตอบ 1.แปลโดยอรรถ เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย
2.แปลโดยสำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
122.สังคายนา หมายถึง
ตอบ การรวบรวม การตรวจสอบ ชำระพระธรรมและพระวินัย โดยการสังคายนาครั้งที่ 2 มีพระเจ้ากาลาโศกถวายการอุปถัมภ์ สาเหตุ เพราะภิกษุปฏิบัติผิดวินัย เช่น ฉันอาหารเลยเวลาเที่ยง เป็นต้น การสังคายนาครั้งนี้เป็นเหตุให้สงฆ์แตกแยกเป็น 2 นิกาย 1.เถรวาท 2. มหาสังฆิกะ
123.การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย
ตอบ ยุคที่ 1.เถรวาทแบบพระเจ้าอโศกมหาราช มาทางสุวรรณภูมิ ขุดพบที่ จ.นครปฐม คือ
ศิลารูปธรรมจักรกับกวางหมอบ
ยุคที่ 2.ยุคมหายาน พ.ศ.1300 เจดีย์พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี , พระมหาธาตุ จ.
นครศรีธรรมราช
ยุคที่ 3.ยุคเถรวาทแบบพุกาม พ.ศ.1600 ตอนเหนือของไทย ล้านนา ลงมาถึง ลพบุรีและ
ทวาราวดี
ยุคที่ 4.เถรวาทแบบลังกาวงศ์ พ.ศ.1698 ตั้งมั่นอยู่เมืองนครศรีธรรมราช
สมัยสุโขทัย พ.ศ.1800-1920 พ่อขุนรามคำแหงอาราธนาพระสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชไป
ยังสุโขทัย
-เจดีย์ช้างล้อม ( ทรงระฆัง ) วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
-เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ( ทรงบัวตูม ) วัดเจดีย์เจ็ดแก้ว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
-สมัยสุโขทัยรุ่งเรืองมาก พระยาลิไททรงพระราชนิพนธ์ “เตภูมิถกา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง”
เกี่ยวกับความคิดความเชื่อและวิ๔ปฏิบัติของประชาชน ในเรื่องนรก สวรรค์ และการทำดีทำชั่ว
– สมัยล้านนา พ.ศ.1913 พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์
– สมัยอยุธยา พ.ศ.1893-2310 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ส่งพระสงฆ์ไปสืบพระพุทธศาสนาแบบ
สยามวงศ์(อุบาลีวงศ์) ในศรีลังกา
– สมัยธนบุรี พ.ศ.2310-2325 พระเจ้าตากสินโปรดฯให้รวบรวมพระไตรปิฎกจากที่ต่างๆมาเก็บ
ไว้
– สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2523-ปัจจุบัน
-ร.1 โปรดฯสร้างหอมณเทียรธรรม ในพระบรมมหาราชวัง
-ร.2 อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุและต้นพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา และส่งพระสงฆ์ 7 รูปไปสืบ
พระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา
-ร.3 โปรดฯรวบรวมพระไตรปิฎกบับภาษาต่างๆ ,ตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายโดยพระภิกษุเจ้า
ฟ้ามงกุฎ ( ร.4 )
-ร.4 ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมและการปกครองคณะสงฆ์ให้เจริญมากขึ้น
-ร.5 จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรไทยครั้งแรก 1,000 ชุด ,รับพระบรมสารีริกธาตุมา
ประดิษฐานที่บรมบรรพต(ภูเขาทอง) วัดสระเกศ ,สถาปนามหามกุฎราชวิทยาลัย ณ วัดบวร
นิเวศวิหาร และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ณวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
-ร.6 พระราชนิพนธ์หนังสือ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร , เทศนาเสือป่า ฯลฯ
-ร.7 พิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรไทย 1,500 ชุด , ประกวดการแต่งหนังสือสอน
พระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก
-ร.8 เริ่มการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย แปล 2 ประเภท
1.แปลโดยอรรถ เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย
2.แปลโดยสำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
-ร.9 ทรงผนวช พ.ศ.2499 , สร้างพุทธมณฑลเป็นพุทธบูชา และเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
(พ.ศ.2500) ,วิทยาลัยสงฆ์ พัฒนาเป็นขั้นอุดมศึกษา
124.ความสำคัญของพุทธศาสนา
ตอบ 1.เป็นศาสนาประจำชาติ 2.เป็นหลักของการดำเนินชีวิต 3.เป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมไทย

125.วันมาฆบูชา
ตอบ วันพระธรรม ,วันจาตุรงคสันนิบาต , แสดงโอวาทปาติโมกข์ – หลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสอน คือ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ พร้อมสอนชาวพุทธ “ต้องมีความอดทน มุ่งความสงบ อยู่ในระเบียบวินัย ตั้งใจแน่วแน่ ทำแต่ความดีมีคุณประโยชน์ ไม่ทำลายผู้อื่น
126.วันวิสาขบูชา
ตอบ วันพระพุทธ โดยมีเหตุการณ์ ประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน เนปาล , ตรัสรู้อริยสัจ คือ ความจริง 4 ประการ ณ พุทธคยา , ปรินิพพาน ถือเป็นการเตือนจิตสำนึกในวิถีชีวิตแห่งความไม่ประมาท , เป็นวันสากลของ UN เพราะให้กำเนิดอารยธรรมมนุษย์ ที่ยิ่งใหญ่
127.วันอัฐมีนบูชา
ตอบ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 หลังวันวิสาขบูชา 8 วัน, ระลึกถึงงานถวายพระเพลิงพระบรมสรีระของพระพุทธเจ้า , วันระลึก ถึงเหตุการณ์ที่ปารถนาจะจัดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกด้วย
128.วันอาสาฬหบูชา
ตอบ วันพระสงฆ์ , แสดงธรรมครั้งแรกและกัณฑ์แรก “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” สูตรการหมุนของพระธรรมจักร( ตราศาสนาพุทธ ) ,พระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ฟังธรรมแล้วเกิดดวงตราเห็นธรรมและขอบวชในพุทธศาสนา , มีพระรัตนตรัยครบถ้วนบริบูรณ์เป็นครั้งแรก
129.อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
ตอบ 1.ทุกข์ – ชีวิตและโลกนี้มีปัญหา 2.สมุทัย – ปัญหามีสาเหตุและมิได้เกิดขึ้น
ลอยๆ 3.นิโรธ – มนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 4.มรรค – การแก้ปัญหานั้นต้องใช้ปัญญาและความเพียร
130.คิหิสุข คือ ความสุขของคฤหัสถ์ มี 4 ประการ
ตอบ 1.อัตถิสุข คือ สุขจากการมีทรัพย์ 2.โภคสุข คือ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์
3.อนณสุข คือ สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ 4.อนวัชชสุข คือ สุขจากความประพฤติไม่มีโทษ – สำคัญที่สุด
131.ไตรสิกขา คือ
ตอบ หลักการพัฒนาชีวิตให้ประสบผลสำเร็จเป็นคนสมบูรณ์ตามแนวพุทธ – ศีล สมาธิ ปัญญา
132.กรรมฐาน คือ
ตอบ ที่ตั้งแห่งการงานทางใจ – วิธีฝึกอบรมจิต 2 ประเภท
1.สมถกรรมฐาน – วิธีฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ เป็นอุบายสงบใจ
2.วิปัสสนากรรมฐาน – วิธีฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง เป็นอุบายเรื่องปัญญา
133.ปธาน คือ
ตอบ ความเพียร
1.สังวรปธาน – เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น เพียรระวัง เพียรโละ
2.ปหานปธาน – เพียรระวังบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรระวัง เพียรโละ
3.ภาวนาปธาน – เพียรเจริญ / สร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เพียรให้เกิด เพียรรักษา
4.อนุรักขนาปธาน – เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้ไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพียรให้เกิด เพียรรักษา
134.โกศล 3 คือ
ตอบ ปัญญาความรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ความฉลาด ความเชี่ยวชาญ ฉลาดรอบรู้ทั้งเหตุและผลของสิ่งต่างๆ
1.อายโกศล – ความฉลาดในความเจริญ รู้จักเหตุและประโยชน์ของความเจริญ
2.อปายโกศล – ความฉลาดในความเสื่อม รู้จักเหตุและโทษแห่งความเสื่อม
3.อุปายโกศล – ความฉลาดในอุบาย รู้จักวิธีการละความเสื่อมและสร้างเหตุแห่งความเจริญทำให้ความเจริญสำเร็จ
135.หลักคำสอนที่จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล เช่น
ตอบ 1.หลักกฎแห่งกรรม 2.หลักแห่งเหตุและปัจจัยที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น( อิทัปปัจจยตา) 3.หลักอริยสัจ ทรงสอนมากเป็นพิเศษ 4.หลักการพัฒนามนุษย์ 4 ด้าน 5.หลักบูรณาการ เป็นต้น
136.ทางสายกลาง ทางที่ยึดความพอดี สมดุล หลักพุทธศาสนาที่ยึดทางสายกลาง เรียกว่า
ตอบ มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
137.มรรค 8 – มรรคมีอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่
ตอบ 1.สัมมาทิฏฐิ – เห็นชอบ , เห็นว่าทำดีได้ดี พ่อแม่มีคุณ ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ ยึดมาเป็นของตนไม่ได้ ฯลฯ
2.สัมมาสังกัปปะ – ดำริชอบ , ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น หลุดพ้นสิ่งยั่วยวนใจ(กาม) ไม่
พยาบาทและเบียดเบียนผู้อื่น
3.สัมมาวาจา – เจรจาชอบ , เว้นพูดชั่ว 4 ประการ ได้แก่ 1.เท็จ 2.ส่อเสียด 3.คำหยาบ 4.
เพ้อเจ้อไร้สาระ
4.สัมมากัมมันตะ – ทำงานชอบ , เว้นการทำชั่วทางกาย 3 ประการ ได้แก่ 1.ฆ่าสัตว์ 2.
ลักทรัพย์ 3.ผิดในกาม
5.สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ , เว้นการเลี้ยงชีพในทางผิด
6.สัมมาวายามะ – เพียรพยายามชอบ , พยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง
7.สัมมาสติ – ระลึกชอบ , พิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึก ให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริง
8.สัมมาสมาธิ – ตั้งใจมั่นชอบ , ตั้งจิตแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยชอบ
138.พละ 5 ( ธรรมอันเป็นกำลัง )
ตอบ 1.ศรัทธา 2.วิริยะ 3.สติ 4.สมาธิ 5.ปัญญา
139.อริยทรัพย์ 7 ( ทรัพย์ภายในอันประเสริฐ )
ตอบ 1.ศรัทธา 2.ศีล 3.หิริ 4.โอตัปปะ 5.พหุสัจจะ 6.จาคะ 7.ปัญญา
140.ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา 4 ประการ
ตอบ 1.ตถาคตโพธิสัทธา – เชื่อมั่นในการเข้าถึงอิสรภาพที่แท้จริงของมนุษย์
2.กัมมสัทธา – เชื่อมั่นในการกระทำ
3.วิปากสัทธา – เชื่อมั่นในผลของการกระทำ
4.กัมมัสสกตาสัทธา – เชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการ
กระทำนั้น
141.เปรียบเทียบบัว 4 เหล่า กับ คน 4 ประเภท
ตอบ 1.อุคฆฏิตัญญู – ฉลาดมาก บัวพ้นน้ำ
2.วิปจิตัญญู – ฉลาดปานกลาง บัวปริ่มน้ำ จะบานในวันถัดไป
3.เนยยะ – พอแนะนำได้ บัวใต้น้ำ
4.ปทปรมะ – โง่เขลาไม่เข้าใจความหมายธรรมได้ บัวใต้โคลนตรม
142.พุทธบริษัท 4
ตอบ ภิกษุบริษัท ภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท อุบาสิกาบริษัท – เผยแผ่พระพุทธศาสนา
143.พระเวสสันดร
ตอบ พระโพธิสัตว์สุดท้าย การบำเพ็ญทานบารมี พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก
144.เทศนากัณฑ์แรก
ตอบ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แสดงแก่ ปัญจวัคคีย์
145.วันมาฆบูชา
ตอบ วันพระธรรม แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ – ทำดี ละเว้นชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แสดงหลักพระพุทธศาสนา
146.ตัณหา 3 ประการ
ตอบ 1.กามตัณหา – ความอยากได้ 2.ภวตัณหา – ความอยากเป็น 3.วิภวตัณหา – ความไม่อยากเป็น

147.ฆราวาสธรรม 4 ธรรมแห่งการครองเรือน
ตอบ 1.สัจจะ – ความสัตย์ 2.ทมะ – ความฝึก,ความข่ม 3.ขันติ – อดทน 4.จาคะ – เสียสละ
148.ธรรมช่วยให้เกิดความสุขในสังคม
ตอบ จาคะ – ความเสียสละ , มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน ได้แก่ 1. เสียสละวัตถุสิ่งของ 2. เสียสละอารมณ์กิเลส ที่เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
149.วันเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8
ตอบ .ถวายผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษา ก่อนเข้าพรรษา 1 เดือน ส่วนใหญ่ถวายก่อน 1 วัน
150.วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
ตอบ วันมหาปวารณา – ประเพณีตักบาตรเทโว , เป็นวันที่ เทวดา มนุษย์ และสัตว์ที่เกิดในนรกมองเห็นกันและกัน , หลักธรรม – รอบรู้ เสียสละ สามัคคี
151.สันโดษ — สังคมไม่แก่งแย่งชิงดีกัน มีแต่สามัคคีกัน
ตอบ 1.ยถาสันโดษ – ยินดีตามที่ได้ 2.ยถาพลสันโดษ — ยินดีตามกำลังที่มีอยู่ 3.ยถาสารุปปสันโดษ – ยินดีตามสมควร
152.ทอดกฐิน
ตอบ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 รวม 1 เดือน , กฐิน = กรอบไม้ , สะดึงสำหรับขึงเย็บจีวร
153.กรานกฐิน
ตอบ สังฆกรรมที่สงฆ์ตัดเย็บจีวรแล้วมอบให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งครองจีวร , ทอดกฐินต้องมีพระสงฆ์อย่างน้อย 5 รูป
154.จัดกฐินตามประเภทวัด
ตอบ 1.กฐินหลวง – ในหลวง,พระบรมวงศ์ฯทอด ณ พระอารามหลวง
2.กฐินพระราชทาน – โปรดเกล้าฯให้หน่วยงาน องค์กร ทางการ ทอด พระอารามหลวง
3.กฐินต้น – ในหลวงทอดส่วนพระองค์ที่วัดราษฎร์
4.กฐินสามัคคี – ทั่วไป
155.พระบรมบรรพต “ภูเขาทอง”วัดสระเกศ สร้างเสร็จสมัย ร.5
ตอบ เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์( เกี่ยว อุปเสโณ ) – เป็นเจ้าอาวาส
156.กีฬา ทบ.ครั้งที่ 57 ปี2550
ตอบ .ณ กช. ค่ายบุรฉัตร จ.ราชบุรี ชิงชัย 19 ชนิดกีฬา นักกีฬา 8 กลุ่ม , ครั้ง 58 ปี 2551 จัดที่ ทภ.2

157.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน ปี 50 – 54 เป็นกรอบการปฏิบัติยุทธศาสตร์ 4 ประการ
ตอบ 1.ยุทธศาสาตร์พัฒนาศักยภาพคน ชุมชน และพื้นที่
2.ยุทธศาสาตร์การผนึกกำลังเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายแดน
3.ยุทธศาสาตร์เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน 4.ยุทธศาสาตร์บริหารจัดการ
158.อนุสาวรีย์วีรกรรมทหารกล้า อยู่ที่
ตอบ ร.31 พัน .3 รอ.
159.พระเบญจภาคี
ตอบ 1.พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร 2.พระซุ้มกอ จ. กำแพงเพชร 3.พระนางพญา จ.พิษณุโลก 4.พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี 5.พระรอดกรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน
160.โครงการจัดสร้างพระราชอาสน์ ของ ทบ.
ตอบ พระมหาพิชัยมงกุฎทองคำ มีน้ำหนัก 60 บาท
161.ปี 2543 ครม.มีมติถวายพระนามให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” กำหนด วันที่ 19 ต.ค.เป็น
ตอบ “วันเทคโนโลยี”
162.ปี 2545 ครม.น้อมเกล้าฯ ถวายพระนาม “พระบิดาแห่งฝนหลวง”และกำหนดให้วันที่ 14 พ.ย. เป็น
ตอบ “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”
163.วันยุทธหัตถีทางจันทรคติตามที่ระบุในพงศาวดาร คือ วันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จ.ศ.954 ตรงกับ
ตอบ วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2135
164.พุทธะ แปลว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว , ผู้รู้อริยสัจ 4 อย่างลึกซึ้ง
ตอบ 1.สัพพัญญูพุทธะ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
2.พระปัจเจกพุทธะ คือ ตรัสรู้ด้วยตนเองแต่ไม่สอนผู้อื่น ไม่ตั้งพุทธบริษัท ไม่ตั้งศาสนา
3.พระอนุพุทธะ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เรียกอีกอย่างว่า “สาวกพุทธะ”
165.บุตร มี 3 ประเภท
ตอบ 1.อภิชาตบุตร – มีศีลและคุณสมบัติอื่นๆ ดีกว่าพ่อแม่ ทำให้วงศ์สกุลมีชื่อเสียง
2.อนุชาตบุตร — มีศีลและคุณสมบัติอื่นๆ เท่าเทียมกับพ่อแม่
3.อวชาตบุตร – ไม่มีศีล ไม่มีคุณธรรมและมีคุณสมบัติอื่นๆ ด้อยกว่าพ่อแม่ วงศ์ตระกูลเสื่อม
เสีย

166.หลักสมชีวิตาธรรม 4 – หลักที่แสดงความเหมาะสมของคนที่จะเป็นคู่ครองกัน
ตอบ 1.สมสัทธา – มีศรัทธา หรือความเชื่อเสมอเหมือนกัน
2.สมสีลา – มีศีลมีธรรมเสมอเหมือนกัน
3.สมจาคา – มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเสมอเหมือนกัน
4.สมปัญญา – มีปัญญาหรือวิชาความรู้เสมอเหมือนกัน
167.ฆราวาสธรรม 4 – หลักธรรมสำหรับการครองเรือน
ตอบ 1.สัจจะ – ซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน 2.ทมะ – ข่มใจและควบคุมสติ
3.ขันติ – อดทน อดกลั้นไม่ท้อถอยต่อความยากลำบาก 4.จาคะ – เสียสละไม่เห็นแก่ตัว
168.พ่อแม่ต้องอนุเคราะห์ลูก 5 ประการ
ตอบ 1.ห้ามทำชั่ว 2.ให้ดำรงอยู่ในความดี 3.ให้ศึกษาศิลปวิทยา 4.หาคู่ครองที่เหมาะสมให้
5.มอบทรัพย์สมบัติให้ตามโอกาสอันควร
169.สติปัฏฐาน 4 – การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้รู้และเข้าใจตามที่เป็นจริง
ตอบ 1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา กาย
2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา เวทนา , เมื่อเจ็บตั้งสติว่าเจ็บหนอ
3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา จิต , ยินดีหนอ ชอบใจหนอ คิดหนอ
4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา ธรรม
170.ผ้าบังสุกุลจีวร คือ
ตอบ ผ้าที่ตกอยู่ตามกองขยะที่ใครๆทิ้งแล้วและผ้าห่มศพที่อยู่ตามป่าช้า พระภิกษุสงฆ์นำมาซักเย็บเป็นจีวรนุ่งห่ม
171.สุชีโวภิกขุ หรือ สุชีพ ปุญญานุภาพ “นักปราชญ์ทางปรัชญาศาสนา” เป็นภิกษุไทยรูปแรกที่
ตอบ แสดงพระธรรมเทศนาเป็นอังกฤษ
172.ปฏิคาหก คือ
ตอบ ผู้รับ หรือ ผู้รับของถวาย
173.การให้ทานจะได้ผลมาก ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ
ตอบ 1.วัตถุบริสุทธิ์ – เป็นของที่ได้มาโดยสุจริต
2.เจตนาบริสุทธิ์ – ไม่ใช่เพื่อเอาหน้าหาชื่อเสียง
3.บุคคลบริสุทธิ์ – เลือกให้ผู้รับที่เป็นคนดี มีศีลธรรม ( ทั้งผู้ให้และผู้รับ )

174.วัฒนมุข คือ
ตอบ ปากทางแห่งความเจริญ มี 6 อย่าง 1.รักษาสุขภาพดี 2.มีระเบียบวินัย 3.ได้คนดีเป็นแบบอย่าง 4.ตั้งใจเรียนให้รู้จริง 5.ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม 6.มีความขยันหมั่นเพียร
175.ธรรมสมาธิ คือ
ตอบ การประสานแน่วของธรรม คือ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิตใจมั่นแน่วลงสู่สมาธิ มี 5 ประการ 1.ปราโมทย์ 2.ปีติ 3.ปัสสัทธิ (สงบเย็น ผ่อนคลาย) 4.สุข 5.สมาธิ
176.การพัฒนาวุฒิภาวะทางธรรมจริยา ตามหลัก อริยวัฒิ 5 คือ
ตอบ 1.ศรัทธา เชื่ออย่างมีเหตุผล 2.ศีล ความประพฤติและวิถีชีวิตไม่เบียดเบียน 3.สุตะ รู้ข่าวสารข้อมูล ทันต่อสถานการณ์ 4.จาคะ สละให้ 5.ปัญญา ทำการต่าง ๆด้วยปัญญา
177.สรณะ 3 หรือ ไตรสรณะ หมายถึง
ตอบ พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
178.พุทธคุณ 3 คือ
ตอบ 1.ปัญญาคุณ(พระคุณ คือ พระปัญญา) 2.วิสุทธิคุณ( พระคุณคือ บริสุทธิ์) 3.กรุณาคุณ (พระคุณ คือ พระมหากรุณา)
179.ไตรสิกขา คือ
ตอบ พุทธโอวาท 3 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
180.สัทธรรม 3 ได้แก่
ตอบ 1.ปริยัติ เล่าเรียน 2.ปฏิบัติ ลงมือทำ 3.ปฏิเวธ ลุล่วงผล บรรลุจุดมุ่งหมาย
181.ปาพจน์ 2 ได้แก่
ตอบ 1.ธรรม คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ 2.วินัย ข้อบัญญัติที่เป็นหลักกำกับความประพฤติปฏิบัติ
182.ไตรปิฎก
ตอบ 1.วินัยปิฎก – หมวดพระวินัย 8 เล่ม แบ่งเป็น 3 หมวด 5 คัมภีร์
2.สุตตันตปิฎก – หมวดพระสูตร 25 เล่ม แบ่งเป็น 5 นิกาย
3.อภิธรรมปิฎก – หมวดอภิธรรม 12 เล่ม แบ่งเป็น 7 คัมภีร์
183.ธรรมมีอุปการะมาก 2
ตอบ ช่วยให้ดำเนินชีวิตทำกิจได้ดี ตื่นตัว รอบครอบ ทันเหตุการณ์
1.สติ ความระลึกได้ 2.สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

184.ธรรมคุ้มครองโลก 2
ตอบ ช่วยรักษาตัวไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม และช่วยให้รับผิดชอบในการรักษาสังคม
1.หิริ ความละอายบาป 2.โอตตัปปะ ความกลัวบาป
185.บุคคลหาได้ยาก 2
ตอบ สังคมจะดีงามเจริญมั่นคง
1.บุพการี ผู้ทำอุปการะก่อน 2.กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
186.บุญกิริยาวัตถุ 3
ตอบ ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, หลักการทำความดี, ทางทำความดี
1.ทานมัย – ปันทรัพย์สิ่งของและศิลปวิทยา
2.สีลมัย – รักษาศีล ประพฤติดีมีวินัย
3.ภาวนามัย – เจริญภาวนา
187.ทาน
ตอบ การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน การบริจาค
1.อามิสทาน – การให้วัตถุ
2.ธรรมทาน – การให้ธรรม ความรู้และแนะนำสั่งสอน
3.ปาฏิบุคลิกทาน – ให้จำเพาะบุคคล เจาะจงตัว
4.สังฆทาน – การให้แก่สงฆ์ ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม
188.อกุศลมูล 3
ตอบ รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว
1.โลภะ – ความอยากได้ 2.โทสะ – ความคิดปทุษร้าย 3.โมหะ – ความหลง
189.ศีล 5 มีชื่อเรียก
ตอบ นิจศีล – คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ, มนุษญธรรม – ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์
190.ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล เพิ่มจากศีล 5 คือ
ตอบ 1.งดบริโภคอาหารยามวิกาล(หลังเที่ยง)
2.เว้นฟ้อนรำขับร้อง
3.เว้นจากที่นอนสูงใหญ่หรูหรา

191.อบายมุข 6 คือ
ตอบ ช่องทางของความเสื่อม ทางแห่งความพินาศ ได้แก่
1.เสพติดสุรายาเมา 2.เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา 3.จ้องหาแต่การบันเทิง
4.ระเริงเล่นติดการพนัน 5.พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว 6.มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน
192.วัฒนมุข 6
ตอบ ปากทางแห่งความเจริญ
1.อาโรคยา – ความไม่มีโรค
2.ศีล – ประพฤติดีมีวินัย ไม่ก่อเวร
3.พุทธานุมัต – ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต
4.สุตะ – ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ 5.ธรรมานุวัติ – ดำเนินชีวิตและกิจการโดยชอบธรรม
6.อลีนตา – เพียรพยายามไม่ระย่อ ท้อถอย เฉื่อยชา
193.อคติ 4 คือ
ตอบ ความลำเอียง ได้แก่
1.ฉันทาคติ – ลำเอียงเพราะชอบ ,รัก 2.โทสาคติ – ลำเอียงเพราะชัง
3.โมหาคติ – ลำเอียงเพราะเขลา , หลง 4.ภยาคติ – ลำเอียงเพราะกลัว
194.พรหมวิหาร 4 คือ
ตอบ ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่ เรียกอีกว่า อัปปมัญญา 4 ได้แก่
1.เมตตา – ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข
2.กรุณา – ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์
3.มุทิตา – ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
4.อุเบกขา – ความมีใจเป็นกลาง
195.สังคหวัตถุ 4 คือ
ตอบ ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว, หลักการสงเคราะห์ ได้แก่
1.ทาน – การให้
2.ปิยวาจา (เปยยวัชชะ) – วาจาที่รัก
3.อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์
4.สมานัตตตา – ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย และเสมอในทุกข์สุข

196.นิวรณ์ 5 คือ
ตอบ ธรรมที่ขวางกั้นการเจริญจิตเจริญปัญญา ทำให้จิตเศร้าหมอง ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง
1.กามฉันทะ – ความพอใจติดใคร่กาม
2.พยาบาท – ความคิดร้าย ขัดเคืองแค้นใจ
3.ถีนมิทธะ – ความง่วงหงาวหาวนอน ความหดหู่และเซื่องซึม ท้อแท้และเฉาซึม ห่อเหี่ยว
4.อุทธัจจกุกกุจจะ – ความฟุ้งซ่านร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มกังวล
5.วิจิกิจฉา – ความลังเลสงสัย เคลือบแคลง
197.ตัวพระพุทธศาสนา เปรียบได้กับ ต้นไม้
ตอบ 1.ลาภสักการะ เหมือน กิ่งไม้
2.ศีล เหมือน สะเก็ดไม้
3.สมาธิ เหมือน เปลือกไม้
4.ปัญญา เหมือน กระพี้ไม้
5.วิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นแก่น
198.ศาสนพิธี เปรียบกับ ต้นไม้
ตอบ 1.ศาสนพิธี เป็น เปลือก 2.พระธรรมคำสอน เป็น แก่น
199.วัดประจำราชกาล
ตอบ วัดประจำราชกาลที่ 1 – วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดประจำราชกาลที่ 2 – วัดอรุณราชวราราม
วัดประจำราชกาลที่ 3 – วัดราชโอรสาราม
วัดประจำราชกาลที่ 4 – วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 5 – วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 6 – วัดสุทัศน์เทพวราราม
200.ลักษณะสำคัญของสังคมไทย
ตอบ ประกอบด้วยคนไทยเป็นส่วนใหญ่ คนเหล่านี้มีอาณาเขตที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีความอิสระแยกจากกลุ่มอื่น สามารถเลี้ยงตนได้ มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
201.ปาพจน์ 2 ได้แก่
ตอบ 1.ธรรม คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ 2.วินัย ข้อบัญญัติที่เป็นหลักกำกับความประพฤติปฏิบัติ

202.ไตรปิฎก
ตอบ 1.วินัยปิฎก – หมวดพระวินัย 8 เล่ม แบ่งเป็น 3 หมวด 5 คัมภีร์
2.สุตตันตปิฎก – หมวดพระสูตร 25 เล่ม แบ่งเป็น 5 นิกาย
3.อภิธรรมปิฎก – หมวดอภิธรรม 12 เล่ม แบ่งเป็น 7 คัมภีร์
203.ธรรมมีอุปการะมาก 2
ตอบ ช่วยให้ดำเนินชีวิตทำกิจได้ดี ตื่นตัว รอบครอบ ทันเหตุการณ์
1.สติ ความระลึกได้ 2.สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
204.ธรรมคุ้มครองโลก 2
ตอบ ช่วยรักษาตัวไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม และช่วยให้รับผิดชอบในการรักษาสังคม
1.หิริ ความละอายบาป 2.โอตตัปปะ ความกลัวบาป
205.บุคคลหาได้ยาก 2
ตอบ สังคมจะดีงามเจริญมั่นคง
1.บุพการี ผู้ทำอุปการะก่อน 2.กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
206.บุญกิริยาวัตถุ 3
ตอบ ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, หลักการทำความดี, ทางทำความดี
1.ทานมัย – ปันทรัพย์สิ่งของและศิลปวิทยา
2.สีลมัย – รักษาศีล ประพฤติดีมีวินัย
3.ภาวนามัย – เจริญภาวนา
207.ทาน
ตอบ การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน การบริจาค
1.อามิสทาน – การให้วัตถุ
2.ธรรมทาน – การให้ธรรม ความรู้และแนะนำสั่งสอน
3.ปาฏิบุคลิกทาน – ให้จำเพาะบุคคล เจาะจงตัว
4.สังฆทาน – การให้แก่สงฆ์ ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม
208.อกุศลมูล 3
ตอบ รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว
1.โลภะ – ความอยากได้ 2.โทสะ – ความคิดปทุษร้าย 3.โมหะ – ความหลง
209.ศีล 5 มีชื่อเรียก
ตอบ นิจศีล – คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ, มนุษญธรรม – ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์

210.ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล เพิ่มจากศีล 5 คือ
ตอบ 1.งดบริโภคอาหารยามวิกาล(หลังเที่ยง)
2.เว้นฟ้อนรำขับร้อง
3.เว้นจากที่นอนสูงใหญ่หรูหรา
211.อบายมุข 6
ตอบ ช่องทางของความเสื่อม ทางแห่งความพินาศ
1.เสพติดสุรายาเมา 2.เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา 3.จ้องหาแต่การบันเทิง
4.ระเริงเล่นติดการพนัน 5.พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว 6.มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน
212.วัฒนมุข 6
ตอบ ปากทางแห่งความเจริญ
1.อาโรคยา – ความไม่มีโรค 2.ศีล – ประพฤติดีมีวินัย ไม่ก่อเวร
3.พุทธานุมัต – ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็น
บัณฑิต
4.สุตะ – ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ 5.ธรรมานุวัติ – ดำเนินชีวิตและกิจการโดยชอบธรรม
6.อลีนตา – เพียรพยายามไม่ระย่อ ท้อถอย เฉื่อยชา
213.อคติ 4 คือ
ตอบ ความลำเอียง
1.ฉันทาคติ – ลำเอียงเพราะชอบ ,รัก 2.โทสาคติ – ลำเอียงเพราะชัง
3.โมหาคติ – ลำเอียงเพราะเขลา , หลง 4.ภยาคติ – ลำเอียงเพราะกลัว
214.พรหมวิหาร 4
ตอบ ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่ เรียกอีกว่า…อัปปมัญญา 4
1.เมตตา – ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข
2.กรุณา – ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์
3.มุทิตา – ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
4.อุเบกขา – ความมีใจเป็นกลาง

215.สังคหวัตถุ 4
ตอบ ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว, หลักการสงเคราะห์
1.ทาน – การให้
2.ปิยวาจา (เปยยวัชชะ) – วาจาที่รัก
3.อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์
4.สมานัตตตา – ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย และเสมอใน
ทุกข์สุข
216.นิวรณ์ 5
ตอบ ธรรมที่ขวางกั้นการเจริญจิตเจริญปัญญา ทำให้จิตเศร้าหมอง ทำปัญญญาให้อ่อนกำลัง
1.กามฉันทะ – ความพอใจติดใคร่กาม
2.พยาบาท – ความคิดร้าย ขัดเคืองแค้นใจ
3.ถีนมิทธะ – ความง่วงหงาวหาวนอน ความหดหู่และเซื่องซึม ท้อแท้และเฉาซึม ห่อเหี่ยว
4.อุทธัจจกุกกุจจะ – ความฟุ้งซ่านร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มกังวล
5.วิจิกิจฉา – ความลังเลสงสัย เคลือบแคลง
217.ตัวพระพุทธศาสนา เปรียบได้กับ ต้นไม้
ตอบ 1.ลาภสักการะ เหมือน กิ่งไม้ 2.ศีล เหมือน สะเก็ดไม้
3.สมาธิ เหมือน เปลือกไม้ 4.ปัญญา เหมือน กระพี้ไม้
5.วิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นแก่น
218.ศาสนพิธี เปรียบกับ ต้นไม้
ตอบ 1.ศาสนพิธี เป็น เปลือก 2.พระธรรมคำสอน เป็น แก่น
219.วัดประจำราชกาล
ตอบ วัดประจำราชกาลที่ 1 – วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดประจำราชกาลที่ 2 – วัดอรุณราชวราราม
วัดประจำราชกาลที่ 3 – วัดราชโอรสาราม
วัดประจำราชกาลที่ 4 – วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 5 – วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 6 – วัดสุทัศน์เทพวราราม

220.ลักษณะสำคัญของสังคมไทย
ตอบ ประกอบด้วยคนไทยเป็นส่วนใหญ่ คนเหล่านี้มีอาณาเขตที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีความอิสระแยกจากกลุ่มอื่น สามารถเลี้ยงตนได้ มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
221.กำลัง 3 ประการ
ตอบ 1.บัณฑิตชน…..กำลังความดี 2.สามัญชน…….กำลังความรู้ 3.พาลชน………..กำลังกาย
222.สัจจะ 5 สถาน
ตอบ 1.จริงต่อหน้าที่……รักษาหน้าที่ , บำรุงหน้าที่
2.จริงต่อการงาน….ทำให้ดี , ทำเต็มที่ , ทำให้เสร็จ
3.จริงต่อวาจา………ทำให้ได้ตามที่ลั่นวาจาไว้
4.จริงต่อบุคคล…….กตัญญู , ภักดี , เมตตากรุณา , สัตย์ซื่อ
5.จริงต่อความดี……ทำดี , ปรับปรุงตนเอง , หวังดีในทางที่ถูก , สนับสนุนคนดี
223.ยศ 3.
ตอบ 1.อิสริยยศ….ยิ่งด้วยอิสระ พระราชา(ผู้ใหญ่) ให้
2.บริวารยศ…ยิ่งด้วยพวกพ้อง เพื่อนฝูงให้
3.เกียรติยศ….ยิ่งด้วยชื่อเสียง มหาชนให้
4.ปัคหะ – ยกย่อง , นิคหะ – ติ , ตำหนิ
225.หลักการเสียสละ
ตอบ 1.เสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ 2.เสียสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต 3.เสียสละทุกอย่างเพื่อรักษาธรรมะ
226.มิตรแท้ 4 จำพวก
ตอบ 1.มิตรมีอุปการะ…ป้องกันเพื่อนและทรัพย์ของเพื่อน , เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งได้ , เมื่อมีธุระ
ช่วยออกทรัพย์เกินกว่าที่ออกปาก
2.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์…ขยายความลับตนแก่เพื่อน , ปิดความลับเพื่อน , ไม่ละทิ้งยามวิบัติ แม้
ชีวิตก็อาจสละแทนได้
3.มิตรแนะประโยชน์….ห้ามไม่ให้ทำชั่ว , แนะให้ทำดี , ให้ฟังสิ่งไม่เคยฟัง , บอกทางสวรรค์ให้
4.มิตรมีความรักใคร่….สุขฯด้วย , ทุกข์ฯด้วย , โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน , รับรองคนที่พูด
สรรเสริญเพื่อน
227.ความเสื่อมหรือความเจริญของคน อยู่ภายใต้อิทธิพล 2 สิ่ง
ตอบ 1.พันธุกรรม 2.สิ่งแวดล้อม

228.โทสะ เพราะ
ตอบ อคติ – ความไม่พอใจ
229.โมหะ เพราะ
ตอบ อวิชชา – ความไม่รู้
230.หลักวินิจฉัยบาป
ตอบ 1.วัตถุ…สัตว์ที่ถูกฆ่า 2.เจตนา…เจตนาของผู้ฆ่า 3.ประโยค…วิธีการฆ่า
231.อนุโลมโจรกรรม
ตอบ 1.สมโจร…….สนับสนุนโจร
2.ปอกลอก….คบเขาเพื่อปอกลอกเอาทรัพย์
3.รับสินบน…รับสินจ้างเพื่อกระทำผิดหน้าที่
232.ฉายาโจรกรรม
ตอบ 1.ผลาญ….ทำลายทรัพย์ของผู้อื่น (ไม่ถือเอาเป็นของตน)
2.หยิบฉวย…ถือวิสาสะเกินขอบเขต
233.อนุโลมโจรกรรม และ ฉายาโจรกรรม
ตอบ ถ้าเจตนาทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ศีลข้อนี้ขาด , ถ้าเจตนาไม่แน่ชัดศีลด่างพร้อย
234.หญิงต้องห้าม
ตอบ 1.มีสามี 2.มีญาติปกครอง 3.มีจารีตรักษา
235.ชายต้องห้าม
ตอบ 1.ชายอื่นนอกจากสามีตน 2.ชายที่จารีตห้าม
236.ปฏิสวะ
ตอบ การรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น โดยที่ตนยังจะพอทำตามคำรับได้อยู่
237.อนุโลมมุสา
ตอบ เรื่องที่กล่าวนั้นไม่จริง แต่ผู้ที่กล่าวมิได้มุ่งให้ผู้ฟังหลงเชื่อ เช่น ประชด
238.ปฏิสวะ และ อนุโลมมุสา
ตอบ ศีลด่างพร้อย
239.เจตนางดเว้นจากการทำผิดศีล เรียกว่า วิรัติ
ตอบ 1.สมาทานวิรัติ…เจตนางดเว้นด้วยการสมาทานศีลไว้ล่วงหน้า
2.สัมปัตตวิรัติ…..เจตนางดเว้นเมื่อเผชิญกับเหตุที่จะทำให้ผิดศีล
3.สมุจเฉทวิรัติ….เจตนางดเว้นเด็ดขาด ของท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว

240.ปาราชิก
ตอบ ผิดแล้วขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที และบวชไม่ได้อีกตลอดชีวิต
1.เสพเมถุน
2.ลักทรัพย์มีราคา 5 มาสกขึ้นไป (เท่ากับ 1 บาท)
3.เจตนาฆ่ามนุษย์ที่สุดแม้แต่ทารกผู้อยู่ในครรภ์มารดาให้ถึงตาย
4.พูดอวดอ้างอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน หมายถึง อวดว่าตนได้ฌานหรือบรรลุมรรคผล
นิพพาน
241.อนิตย 2
ตอบ 1.ภิกษุอยู่กับหญิงตัวต่อตัวในที่ลับหู เช่น อยู่กลางแจ้งแต่ห่างคนอื่นจนสนทนากันไม่มี
ใครได้ยิน
2.อยู่ในที่ลับตา เช่น อยู่ในห้องสนทนากันได้ยินเสียงแต่มองไม่เห็นด้วยตา
242.อุดมการณ์ที่แท้จริงของพุทธศาสนิก คือ
ตอบ ถือธรรมะเป็นใหญ่ , บูชาธรรมะ
243.ของสงฆ์ พระสงฆ์จะหยิบยกให้เอกชนได้วิธีเดียว
ตอบ การแลกเปลี่ยนในทางที่วัดไม่เสียเปรียบ เรียกตามภาษาวินัยว่า “ ผาติกรรม ”
244.มหาวิทยาลัยสงฆ์
ตอบ 1.วัดบวรนิเวศวิหาร สภาการศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย……..ศาสนศาสตร
บัณฑิต (ศน.บ.)
2.วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย…..พุทธศาสตรบัณฑิต
(พธ.บ.)