แนวข้อสอบอัตราสิบเอก กองพลทหารราบ

แนวข้อสอบอัตราสิบเอก กองพลทหารราบ

แนวข้อสอบอัตราสิบเอก กองพลทหารราบ

สำหรับท่านที่ อยากเตรียมสอบ
สอบอัตราสิบเอก กองพลทหารราบ
หา คู่มือสอบอัตราสิบเอก กองพลทหารราบ
หนังสือสอบอัตราสิบเอก กองพลทหารราบ
ทาง NUDSOB ได้รวบรวม แบ่งปัน
ตัวอย่าง ข้อสอบอัตราสิบเอก กองพลทหารราบ
เพื่อเป็นความรู้ และแนวทางในการสอบให้กับทุกๆท่าน

แนวข้อสอบวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย
คำชี้แจง ให้ท่านเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด หรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1.เวลามีความสำคัญอย่างไรในการศึกษาประวัติศาสตร์
ก. ช่วยให้เลือกหลักฐานที่จะนำมาใช้ได้ถูกต้อง
ข. บอกให้ทราบว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใด
ค. เพื่อประหยัดเวลาในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล
ง. ป้องกันมิให้เกิดความสับสนในการตีความ
ตอบ ข.
เวลามีความสำคัญในแง่ที่ทำให้ทราบว่า เรื่องราว เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใด ย้อนหลัง กลับไปนานเท่าใดเมื่อนับจากปัจจุบัน
2. ข้อใดมีความสอดคล้องกับการระบุเวลาทางประวัติศาสตร์
ก. กองทัพไทยยกพลเข้ามาตีเมืองทวายได้สำเร็จ
ข. เหล่าขุนนางอำมาตย์ก็พากันออกมาขอสวามิภักดิ์
ค. ครั้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น
ง. สงครามครั้งนี้สู้รบกันอย่างยาวนานแต่ไม่มีผลแพ้ชนะ
ตอบ ง.
คำว่า “สมัยพ่อขุนรามคำแหง” เสมือนเป็นการระบุเวลาว่าเป็นเหตุการณ์สมัยสุโขทัยและการบอกพระนามกษัตริย์ ก็สามารถจะทราบเวลาที่เป็นศักราชได้
3. การใช้คำบอกเวลาในข้อใดที่สามารถจะระบุเวลาที่เกิดเหตุการณ์ได้ชัดเจนที่สุด
ก. เดือน ปี ศักราช
ข. ยุคสมัย ศตวรรษ
ค. ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ค. กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
ตอบ ก.
เดือน ปี ศักราช เป็นการระบุเวลาที่ชี้เฉพาะ ทำให้รู้การเกิดเหตุการณ์ได้ชัดเจนที่สุด ส่วนคำตอบอื่น เป็นการระบุเวลาอย่างกว้าง ๆ
4. การรู้จักเทียบศักราชมีประโชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร
ก. ช่วยให้ใช้เอกสารที่ระบุเวลาได้เกือบทุกชนิด
ข. มีความเข้าใจเหตุการณ์และเรื่องราวได้ง่ายขึ้น
ค. ทำให้สามารถอ่านตีความเอกสารของต่างชาติได้
ง. ช่วยให้สรุปเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้ถูกต้อง
ตอบ ข.
การรู้จักเทียบศักราชอื่น ๆ มาเป็นศักราชที่เราคุ้นเคย จะช่วยทำให้เข้าใจเหตุการณ์หรือเรื่องราวได้ดีขึ้นว่า เกิดอยู่ในเวลาใด ทั้งนี้การรู้จักศักราชอาจไม่มีผลต่อการใช้เอกสาร ถ้าเอกสารนั้นบันทึกเป็นภาษาที่เราอ่านไม่ออก
5. หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบศักราชในข้อใด ระบุได้ถูกต้อง
ก. ม.ศ. + 1122 = พ.ศ.
ข. จ.ศ. + 2324 = พ.ศ.
ค. ร.ศ. + 1181 = พ.ศ.
ง. ค.ศ. + 543 = พ.ศ.
ตอบ ง.
ค.ศ. ตั้งหลังพระพุทธศาสนา 543 ปี ดังนั้นถ้าเอา ค.ศ. ตั้งแล้วบวกด้วย 543 ก็จะเป็นอายุของ พ.ศ. ส่วนตำตอบข้ออื่น ๆ ตัวเลขเคลื่อนผิดจากความเป็นจริง
6.“ชื่อเมืองธนบุรีนั้นเห็นจะใช้ชื่อเดิมตั้งแต่เมื่อแรกสร้างปรากฏในพระราชกำหนดเก่า ซึ่งตราไว้เมื่อปีกุน จุลศักราช 1069” จุลศักราชที่ระบุไว้นี้ สามารถเทียบได้กับศักราชข้อใด
ก. มหาศักราช 2817 ข. พุทธศักราช 2205
ค. คริต์ศักราช 2793 ง. รัตนโกสินทร์ศก 2324
ตอบ ค.
การเทียบศักราชในข้อนี้ เพื่อความสะดวกให้เทียบจุลศักราชมาเป็นพุทธศักราชก่อน คือ เอา 1069 ตั้งแล้วบวกด้วย 1181 เมื่อได้อายุ พ.ศ. แล้ว ค่อยเอา พ.ศ. ไปเทียบเป็นศักราชอื่นต่อไป คำตอบที่ถูกต้องจะตรงกับคริสต์ศักราช 2793
7. “กว่าฝรั่งเศสจะถอนกำลังออกไปก็ต่อเมื่อมีการทำสัญญา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ.125 ซึ่งทำให้ไทยต้องเสียเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณให้ฝรั่งเศส” เหตุการณ์นี้ตรงกับศักราชข้อใด
ก. ค.ศ. 1909 ข. พ.ศ. 2449
ค. ฮ.ศ. 3517 ง. ม.ศ. 2070
ตอบ ข.
คำตอบข้อนี้ใช้หลักเกณฑ์การเทียบศักราชเช่นเดียวกับคำตอบในข้อ 6 ซึ่งตัวเลขศักราชที่ตรงกับ ร.ศ.125. มากที่สุด คือ พ.ศ. 2449 โดยเอา 125 ตั้งแล้วบวกด้วย 2324
8. การใช้ศักราชในประวัติศาสตร์ไทยตามหลักฐานข้อใด ไม่สมเหตุสมผล
ก. เมื่อปีมะเมีย ค.ศ. 1595 พระเจ้าจันทโชติได้สวยราชสมบัติกรุงะโว้
ข. 1205 ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหง หาใคร่ใจในใจแลใส่ลายสือไทยนี้
ค. ศุภมัสดุ ศักราช 721 ปีขาลโทศก ….. สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา
ง. วันที่ 19 เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ถึงที่ประชุมเสนาบดี ซึ่งอยู่รักษาพระนคร
ตอบ ก.
คำตอบข้อนี้ไม่สมเหตุผล เนื่องจากข้อความที่กล่าว สามารถจะอนุมานได้ว่าเป็นเรื่อง
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยโบราณ ข้อความด้านหน้าใช้คำว่าปีมะเมีย แต่ศักราชระบุตัวเลขเป็นคริสต์ศาสนา จึงไม่ถูกต้อง
9. ขั้นตอนแรกที่เราต้องปฏิบัติในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์คืออะไร
ก. สำรวจค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการทำงาน
ข. กำหนดหัวเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษา
ค. ตรวจสอบปริมาณข้อมูลหลักฐานที่จะใช้
ง. ขอคำปรึกษากับผู้รู้หรือนักประวัติศาสตร์
ตอบ ข.
วิธีการทางประวัติศาสตร์มี 5 ขั้นตอน ในการศึกษา ขั้นตอนแรกที่จะต้องดำเนินการก่อนก็คือ กำหนดหัวเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษา ว่าต้องการจะศึกษาเรื่องใด สมัยใด เพื่อตีกรอบ ให้แคบลง จะได้ศึกษาได้สะดวก
10.เหตุผลที่ต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาประวัติศาสตร์คืออะไร
ก. ช่วยให้การศึกษาเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
ข. สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองเพียงคนเดียว
ง. มีความซับซ้อนน้อยผู้ไม่มีประสบการณ์ก็ทำได้
ง. เพื่อให้การศึกษาเป็นระบบและได้ผลที่ถูกต้อง
ตอบ ง.
เป็นคำตอบที่สมเหตุผล เพราะการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ก็เพื่อให้การศึกษาประวัติ ศาสตร์ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ ได้ผลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ และสามารถพิสูจน์ได้
11. ในศิลาจารึกระบุว่า “เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” อาจบ่งบอกว่า เมืองสุโขทัยน่าจะมีความอุดมสมบูรณ์ดี” ข้อความที่เป็นตัวเอน น่าจะเป็นขั้นตอนใด
ก. การรวบรวมหลักฐาน
ข. การสังเคราะห์ข้อมูล
ค.การตีความหลักฐาน
ง. การประเมินข้อมูล
ตอบ ค.
ข้อความที่เป็นตัวเอน เป็นการอรรถาธิบายเพิ่มเติมจากหลักฐาน จึงถือเป็นการตีความ
12. ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ก. รอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน
ข. ชอบค้นคว้า ใช้ภาษาได้ดี
ค. เชื่อมั่นตนเอง มีความอดทนสูง
ง. สนใจอดีต คาดเดาอนาคตได้ถูก
ตอบ ก.
ผู้ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ได้ดี ต้องมีคุณสมบัติหลายอย่างผสมกัน จากคำตอบที่ให้มาความรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน ถือเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องมี
13. เราจะใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เมื่อจะศึกษาเรื่องที่มีลักษณะตามข้อใด
ก. เรื่องที่ไม่เคยมีผู้ศึกษามาก่อน
ข. เรื่องที่สังคมมักให้ความสนใจ
ค. เรื่องที่มีหลักฐานสืบค้นได้ง่าย
ง. เรื่องที่อยู่ในความสงสัยของเรา
ตอบ ง.
วิธีการทางประวัติศาสตร์จะนำไปใช้หาคำตอบในเรื่องหรือประเด็นที่เราสงสัยหรือสนใจไม่เกี่ยวกับเรื่องนั้นจะมีผู้ใดศึกษามาก่อนหรือไม่ หรือสังคมจะสนใจหรือไม่
14.การจะจำแนกว่าหลักฐานใดเป็นชั้นต้นหรือชั้นรอง พิจารณาโดยใช้เกณฑ์อะไร
ก. เจตนาของผู้จัดทำหลักฐาน
ข. ทัศนะของนักประวัติศาสตร์
ค. ความอยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์
ง. สถานที่ที่มีการค้นพบหลักฐาน
ตอบ ค.
หลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้พิจารณาว่าหลักฐานใดเป็นชั้นต้นหรือชั้นรอง จะดูว่ามีความใกล้ชิดหรืออยู่ร่วมกับเหตุการณ์หรือไม่ เช่น ภาพถ่ายในเหตุการณ์จลาจล ถือเป็นหลักฐานชั้นต้น แต่ข้อเขียนที่บอกเล่าเรื่องราวที่อยู่ในภาพถ่าย ถือเป็นหลักฐานชั้นรอง
15. สภาพทางภูมิศาสตร์ในข้อใดที่ทำให้ดินแดนไทยมีความเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐาน
ก. มีรูปร่างคล้ายกับขวานโบราณ
ข. มีพื้นดินและแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์
ค. ฝนตกชุกไม่หนาวหรือร้อนเกินไป
ง. มีทะเลขนาบข้างใช้เป็นท่าเรือได้ดี
ตอบ ข.
ดินแดนของประเทศไทยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นปัจจัยทางธรรมชาติเอื้ออำนวยโดยเฉพาะการมีพื้นดินและแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ทั่วประเทศ จึงทำให้มีความเหมาะสมกับ การตั้งถิ่นฐานของผู้คน ที่วิถีชีวิตขึ้นอยู่กับเกษตรกรรม
16. การค้นพบหลักฐานยุคหินทั่วผืนแผ่นดินไทย ผลสรุปในข้อใดน่าจะเหมาะสม
ก. มนุษย์ยุคหินน่าจะเป็นบรรพบุรุษคนไทย
ข. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากตอนใต้ของจีน
ค. ดินแดนไทยมีผู้คนอาศัยอยู่กันมายาวนาน
ง. ไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมเอเชีย
ตอบ ค.
คำตอบข้ออื่น ๆ ยังไม่สามารถจะสรุปได้ว่า จะเป็นจริงตามนั้น ซึ่งการค้นพบเครื่องมือหินนับตั้งแต่ยุคหินเก่า ก็พอจะบอกได้ว่าดินแดนที่เป็นประเทศไทยเคยมีผู้คนมาอยู่กันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ยุคหิน
17. การค้นพบอะไรที่นับเป็นวิทยาการสำคัญที่สุดในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ก. การหลอมโลหะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
ข. นำสมุนไพรมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วย
ค. ทำเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้งานได้ทนทาน
ง. ใช้ไม้มาทำเป็นด้ามผูกติดกับขวานหิน
ตอบ ก.
การที่มนุษย์รู้จักวิธีการหลอมโลหะ ซึ่งเริ่มต้นทำสำริดขึ้นก่อน ถือเป็นพัฒนาการสำคัญในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะการมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีประสิทธิภาพ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์
18. ข้อใดเป็นเหตุผลที่ถือว่าการเพาะปลูกมีความสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการของมนุษย์
ก. ไม่ต้องเร่ร่อนจึงมีชีวิตรอดปลอดภัยมากขึ้น
ข. มีอาหารอุดมสมบูรณ์จึงรู้จักวิธีติดต่อค้าขาย
ค. ผู้คนจากดินแดนอื่นเข้ามาติดต่อได้สะดวก
ง. เกิดการสร้างสรรค์และถ่ายทอดวัฒนธรรม
ตอบ ง.
การรู้จักเพาะปลูกทำเกษตรกรรม ทำให้มนุษย์ต้องอยู่ติดที่เพื่อรอเก็บเกี่ยวผลผลิต การอยู่ กับที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการ ดำรงชีวิต รวมทั้ง ยังเปิดโอกาสให้ชนที่มีประสบการณ์มากกว่าได้มีเวลาถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ชนรุ่นหลัง
19. ลักษณะของชุมชนโบราณในข้อใดที่จะขยายตัวไปเป็นรัฐได้อย่างรวดเร็ว
ก. ทำเลที่ตั้งดีศัตรูเข้ามาโจมตีลำบาก
ข. มีของป่าหลายชนิดและมีราคาถูก
ค. มีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น
ง. ผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่กันมาตั้งแต่ยุคหิน
ตอบ ค.
ชุมชนที่จะขยายตัวเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จะเป็นชุมชนเดินทางติดต่อไปมากับ ชุมชน อื่นได้สะดวก เพราะจะมีโอกาสมากในการได้รับวิทยาการใหม่ ๆ ที่ทำให้ชุมชนเจริญขึ้น
20. ข้อใดคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดพัฒนาการของชุมชนเป็นอาณาจักรในสุวรรณภูมิ
ก. จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ข. ได้รับการถ่ายทอดอารยธรรมจากอินเดีย
ค. การรู้จักถ่ายทอดความรู้โดยใช้ตัวอักษร
ง. ผู้คนจากดินแดนจีนตอนใต้อพยพเข้ามา
ตอบ ข.
การที่ชุมชนในสุวรรณภูมิเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีความเจริญมากกว่าชนพื้นเมือง โดยเฉพาะการรู้จักจัดระเบียบการปกครองมีการสร้างเมืองราชธานีที่เป็นศูนย์กลางการปกครองขึ้นมา จนทำให้เกิดเป็นอาณาจักร
21. คำกล่าวเกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดีในข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. เป็นอาณาจักรแห่งแรกในดินแดนไทย
ข. ช่วยถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่ดินแดนอื่น
ค. นำดินแดนไทยเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
ง. รวมดินแดนของคนไทยให้เป็นปึกแผ่น
ตอบ ก.
ทวารวดีก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ถือเป็นอาณาแรกและมีอายุเก่าแก่ที่สุด
22. โบราณสถานกับอาณาจักรโบราณในข้อใดที่จัดความสัมพันธ์ไม่ถูกต้อง
ก. พระปฐมเจดีย์ : ทวารวดี
ข. พระธาตุพนม : โคตรบูรณ์
ค. พระธาตุหริภุญชัย : โยนกเชียงแสน
ง. พระบรมธาตุเจดีย์ : ตามพรลิงค์
ตอบ ค.
เป็นคำตอบที่ไม่สัมพันธ์กัน โดยพระธาตุหริภุญชัยเป็นพระเจดีย์ธาตุองค์สำคัญของอาณาจักรหริภุญชัย
23. เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยก่อนสมัยสุโขทัย สามารถสรุปได้ตามข้อใด
ก. ผู้คนยุคหินได้สร้างบ้านแปลงเมืองจนเป็นอาณาจักร
ข. ชุมชนมีการขยายตัวเป็นรัฐโบราณทั่วทุกภูมิภาค
ค. คนไทยได้รวมตัวก่อตั้งรัฐอิสระของตนขึ้นมา
ง. ไม่มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนแต่ต่างคนต่างอยู่
ตอบ ข.
หลังจากพุทธศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา อารยธรรมอินเดียได้แพร่เข้าสู่สุวรรณภูมิ ทำให้เกิดพัฒนาการ ชุมชนมีความเจริญมากขึ้นและขยายตัวพัฒนาไปสู่การเป็นรัฐโบราณ
24. มรดกสำคัญของอาณาจักรตามพรลิงค์ที่มีต่อดินแดนไทยคืออะไร
ก. ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ข. ถ่ายทอดอารยธรรมอินเดียสู่สุวรรณภูมิ
ค. สร้างสรรค์รูปแบบศิลปกรรมที่เป็นของไทย
ง. เป็นสำนักตักศิลาให้การศึกษาวิทยาการสมัยใหม่
ตอบ ก.
คุณูปการที่อาณาจักรตามพรลิงค์มีต่อดินแดนไทยก็คือ การรับเอาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างลังกาวงศ์มาจากลังกา แล้วก็ถ่ายทอดต่อให้อาณาจักรสุโขทัย จนมีผลทำให้พระพุทธศาสนาได้แพร่ขยายและหยั่งรากลึกอยู่ในสังคมไทยมาจนถึงบัดนี้
25.ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของอาณาจักรล้านนา
ก. ใช้การปกครองในระบอบกษัติย์
ข. นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ค. ก่อตั้งราชธานีในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ง. มีวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์
ตอบ ง.
คำตอบข้ออื่น ๆ เป็นสิ่งที่มีอาณาจักรต่าง ๆ มีเหมือนล้านนา แต่ทางด้านวัฒนธรรมจะมีเอกลักษณ์ที่ดูแล้ว รู้ได้ว่าเป็นของอาณาจักรล้านนา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบศิลปกรรม การแต่งกาย ศิลปะการแสดง ภาษาพูด และโดยเฉพาะภาษาเขียนที่ใช้อักษรตัวเมือง
26.เหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐโบราณมักตั้งราชธานีอยู่ริมแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลคืออะไร
ก. ใช้แหล่งน้ำเป็นปราการธรรมชาติป้องกันศัตรู
ข. สะดวกแก่การเพาะปลูกและติดต่อค้าขาย
ค. พื้นที่เป็นดินอ่อนนุ่มสร้างบ้านเรือนได้ง่าย
ง. อากาศสดชื่นเย็นสบายตั้งถิ่นฐานอยู่ได้นาน
ตอบ ข.
วิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพาการเพาะปลูกเป็นหลัก รวมทั้งเส้นทางที่สะดวกและปลอดภัยในสมัยโบราณ คือ เส้นทางขนส่งทางน้ำ ส่งผลทำให้การเลือกชัยภูมิที่จะตั้งราชธานี จึงพิจารณาเลือกทำเลที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลเป็นหลัก
27.การเสื่อมอำนาจของขอมเป็นปัจจัยภายนอกที่ช่วยเอื้ออำนวยต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยอย่างไร
ก.ผู้คนจำนวนมากพากันอพยพเข้ามาสู่สุโขทัย
ข. กลุ่มคนไทยยอมรับให้สุโขทัยเป็นศูนย์กลาง
ค. มีเวลาสร้างบ้านเมืองไม่ต้องกลัวถูกขอมโจมตี
ง. พ่อค้าต่างชาติเปลี่ยนมาค้าขายกับสุโขทัยแทน
ตอบ ค.
ในช่วงแรกสถาปนาสุโขทัย ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อเสถียรภาพอย่างมากก็คือ การที่ขอมที่มีความยิ่งใหญ่มาแต่ครั้งโบราณเสื่อมอำนาจ ทำให้การตั้งอาณาจักรมีความปลอดภัย สามารถใช้เวลาสร้างบ้านเมืองได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลจะถูกขอมมาปราบ
28. เหตุผลสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนไทยพร้อมใจต่อสู้กับพวกขอมคือข้อใด
ก. ต้องการเป็นอิสระได้ปกครองตนเอง
ข. ไม่อยากเป็นแรงงานสร้างปราสาทหิน
ค. ขอมบีบเค้นเรียกบรรณาการเพิ่มขึ้นทุกปี
ง. ได้รับการสนับสนุนกำลังจากชาวต่างชาติ
ตอบ ก.
การตกอยู่ภายใต้อำนาจขอม ขาดอิสรภาพ ต้องส่งส่วยและทำตามคำบัญชาที่พวกขอมสั่ง มา จึงต้องการเป็นอิสระ มีเอกราช ได้ปกครองตนเอง ได้เป็นแรงผลักดันให้คนไทยร่วมมือกันขับไล่อำนาจของพวกขอม
29. สภาพภูมิประเทศของสุโขทัยมีลักษณะเด่นตรงตามข้อใด
ก. พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่าอุดมสมบูรณ์
ข. อยู่ใกล้ภูเขาข้าศึกเข้ามารุกรานยากลำบาก
ค. เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อกับเมืองอื่นได้สะดวก
ง. มีที่ราบกว้างใหญ่รองรับการขยายตัวของเมือง
ตอบ ค.
กรุงสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นศูน์กลางบริเวณภาคกลางตอนบนที่และสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับหัวเมืองอื่น ๆ ทั้งตอนเหนือ ตอนใต้ รวมทั้งออกสู่ทะเลทางอ่าวไทย และทะเลอันดามันได้สะดวก
30.พัฒนาการทางการปกครองแบบ”พ่อปกครองลูก” มีผลดีต่อสุโขทัยอย่างไร
ก. แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองได้รวดเร็ว
ข. กษัตริย์กับราษฎรใกล้ชิดแบบคนในครอบครัว
ค. ไม่ต้องใช้ข้าราชการมากในการปกครอง
ง. ป้องกันมิให้ขุนนางแย่งชิงอำนาจได้ง่าย
ตอบ ข.
การปกครองแบบพ่อปกครองลูก ทำให้พ่อขุนซึ่งเป็นกษัตริย์มีความใกล้ชิดกับราษฎรมากประดุจดังบุคคลที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน
31. หน้าที่หลักของเมืองลูกหลวงในสมัยสุโขทัยคือข้อใด
ก. เป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการ
ข. เป็นท้องพระคลังเก็บรายได้ของแผ่นดิน
ค. เป็นด่านหน้าป้องกันการรุกรานของข้าศึก
ง. เป็นแหล่งผลิตเสบียงอาหารเพื่อกองทัพ
ตอบ ค.
เมืองลูกหลวงสมัยสุโขทัย ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย สระหลวง สองแคว ชากังราว อยู่ห่างจากราชธานีเป็นระยะเดินทัพประมาณ 2 วัน เป็นด่านหน้าป้องกันข้าศึกที่จะมาบุกราชธานี
32. ข้อใดจัดเป็นพัฒนาการทางด้านเกษตรกรรมของสุโขทัย
ก. คิดค้นวิธีทำเกษตรกรรมแผนใหม่
ข. พัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทนต่อความแห้งแล้ง
ค. นำเครื่องทุ่นแรงมาใช้ทำการเกษตรกรรม
ง. จัดวางระบบชลประทานให้แพร่หลายทั่วถึง
ตอบ ง.
สมัยสุโขทัยมีความก้าวหน้าในการทำเกษตรกรรม โดยจัดวางระบบชลประทานให้ทั่วถึงด้วยการทำเหมืองฝาย ตระพัง และสรีดภงส์เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคและเพาะปลูก
33. การค้าในสมัยสุโขทัยมีลักษณะสอดคล้องกับข้อใด
ก.ราชการเป็นผู้ผูกขาดการค้า
ข. ราษฎรทำการค้าขายโดยเสรี
ค. ใช้ระบบการค้าแบบบรรณาการ
ง.ให้มีการประมูลสินค้าบางประเภท
ตอบ ข.
สมัยสุโขทัยราชการเปิดให้มีการค้าขายอย่างเสรี ดังปรากฏข้อวคามในศิลาจารึกว่า “ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่เงือนค้าทองค้า…”
34. เจดีย์สมัยสุโขทัยถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามแบบหนึ่ง ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์แบบสุโขทัยแท้
ก. ยอดทำเป็นทรงแบบดอกบัวตูม
ข. มีเจดีย์เล็กอยู่รายรอบเจดีย์ใหญ่
ค. เจดีย์ประธานเป็นปรางค์กลีบมะเฟือง
ง. ฐานเป็นทรงกลมมีบัลลังค์อยู่ด้านบน
ตอบ ก.
สถูปเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์แบบสุโขทัยแท้ คือ ปลายยอดเหนือเรือนธาตุย่อมุม จะทำเป็นรูปดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่น เจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ เจดีย์ภายในวัดเจดีย์ เจ็ดแถว เป็นต้น
35.ปัจจัยสำคัญอะไรที่ทำให้ผลงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัยมีความงดงามอย่างมาก
ก. ชาวสุโขทัยชอบสร้างสรรค์งานศิลปะ
ข. ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากขอม
ค. มีช่างชาวจีนมาสอนการสร้างงานศิลปะ
ง. บ้านเมืองสงบร่มเย็นมีฐานะทางเศรษฐกิจดี
ตอบ ง.
การที่บ้านเมืองสงบร่มเย็น ผู้คนจึงมีเวลามาสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปกรรมได้ เต็มที่ รวมทั้ง ฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่งดงาม ประณีต มีขนาดใหญ่ได้เป็นจำนวนมาก
36.ผลประโยชน์สำคัญที่สุโขทัยได้จาการมีสัมพันธ์กับจีนคืออะไร
ก. รู้วิธีการทำเครื่องสังคโลก
ข. รายได้จากการติดต่อค้าขาย
ค. ไม่ต้องกลัวการรุกรานจากขอม
ง. ดินแดนที่จีนแบ่งให้ช่วยดูแล
ตอบ ข.
การที่สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับจีนในลักษณะการค้าในระบบบรรณาการค้า ทำให้สุโขทัยได้ประโยชน์อย่างมาก ก็คือ มีรายได้จากการค้าขายเข้าสู่ราชอาณาจักร
37. สาเหตุสำคัญที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจคือข้อใด
ก. แม่น้ำยมเปลี่ยนทิศทางการไหล
ข. ทำสงครามแย่งชิงอำนาจกับล้านนา
ค. การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา
ง. ประสบภัยธรรมชาติติดต่อกันหลายปี
ตอบ ค.
การถือกำเนิดขึ้นมาของอาณาจักรอยุธยาที่มีขนาดใหญ่และมีอำนาจเข้มแข็งกว่า ทำให้ฐานะของสุโขทัยได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ ดินแดน อิทธิพลจนในที่สุดต้องยอมถูกผนวกรวมเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอยุธยาในที่สุด
38. วัตถุประสงค์แรกที่ชาวยุโรปเดินทางเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คืออะไร
ก. หาซื้อเครื่องเทศและของป่าหายาก
ข. เผยแพร่คำสอนของศาสนาคริสต์
ค. แสวงหาดินแดนเพิ่มเป็นอาณานิคม
ง. สำรวจหาเส้นทางใหม่ไปยังอินเดีย
ตอบ ก.
วัตถุประสงค์แรกที่ชาวยุโรปเดินทางเข้ามายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็คือ หา
ซื้อเครื่องเทศ ของป่าหายาก ซึ่งเป็นผลผลิตที่มูลค่าสูงเมื่อนำกลับไปจำหน่ายที่ยุโรป
39. ส่วนใหญ่ชาติตะวันตกใช้วิธีการใดในการผนวกดินแดนของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปเป็นอาณานิคม
ก. ทำสัญญาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
ข. ใช้กำลังทหารที่เหนือกว่าบีบบังคับ
ค. ขอซื้อที่ดินในราคาถูกจากชาวพื้นเมือง
ง. ทำสงครามแล้วผนวกดินแดนไว้ในอำนาจ
ตอบ ข.
ชาติตะวันตกแสดงแสนยานุภาพทางทหารซึ่งมีอาวุธยุทโธปกรณ์ กำลังการรบที่ทันสมัยกว่า หรือนโยบายเรือปืน ข่มขู่บีบบังคับให้ชาติต่าง ๆ ที่ด้อยความเจริญ ต้องยอมยก ดินแดนให้เป็นอาณานิคม เพื่อหลีกเลี่ยงการทำสงคราม
40. ดินแดนอาณานิคมกับประเทศเมืองแม่ในข้อใดที่ไม่สัมพันธ์กัน
ก. มาเลเซียเป็นของอังกฤษ
ข. เวียดนามเป็นของฝรั่งเศส
ค. ฟิลิปปินส์เป็นของสหรัฐอเมริกา
ง. อินโดนีเซียเป็นของโปรตุเกส
ตอบ ง.
ชวาหรืออินโดนีเซียตกเป็นอาณานิคมของดัชต์หรือฮอลันดาเมื่อ ค.ศ.1799 ไม่ใช่ของโปรตุเกส
41. ประเทศไทยใช้วิเทโศบายรับมือกับภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตกอย่างไร
ก. ขอกำลังจากต่างชาติเข้ามาช่วยเหลือ
ข. ทำสัญญาเคารพอธิปไตยซึ่งกันและกัน
ค. ประนีประนอมยอมสละพื้นที่ส่วนน้อย
ง. เพิ่มกำลังทหารให้ทัดเทียมกับชาติตะวันตก
ตอบ ค.
วิเทโศบายที่สยามหรือไทยใช้รับมือภัยคุกคามจากชาติตะวันตก คือ หลีกเลี่ยงการโต้ตอบด้วยกำลังทหารตามที่ถูกยั่วยุ แต่ใช้นโยบายยืดหยุ่น ประนีประนอม หากไม่สำเร็จจะยอมสละดินแดนส่วนน้อยที่เป็นเมืองประเทศราช เพื่อรักษาดินแดนดั้งเดิมของไทยไว้
42. เป้าหมายของขบวนการชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือข้อใด
ก. เรียกร้องเอกราชให้กับประเทศของตน
ข. ขับไล่ชาติตะวันตกให้พ้นไปจากทวีปเอเชีย
ค. จัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังชาติตะวันตกให้เอกราช
ง. ช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ที่ตกเป็นอาณานิคม
ตอบ ก.
วัตถุประสงค์ของขบวนการชาติยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็คือ พยายามปลดแอกเรียกร้องเอกราชให้ชาติของตนเป็นอิสระจากเมืองแม่
43.ปัญหาที่ติดตามมาของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังได้รับเอกราชคืออะไร
ก. ขาดแคลนทรัพยากรเพราะส่งให้เมืองแม่ไปหมด
ข. เกิดการสู้รบแย่งชิงอำนาจในระหว่างกลุ่มผู้นำ
ค. ขาดประสบการณ์ในการปกครองดูแลบ้านเมือง
ง. แต่ละเมืองขอแยกตัวไม่ยอมรับอำนาจของรัฐบาลกลาง
ตอบ ข.
หลังได้รับเอกราชจากเมืองแม่ ผู้นำของขบวนการชาตินิยมในหลายประเทศ มีความแตกแยก ต่างแย่งชิงอำนาจหวังเป็นผู้นำรัฐบาล ความขัดแย้งได้ขยายตัวจนทำให้เกิดการการสู้รบเป็นสงครามขึ้น ดังเช่น ในเวียดนาม ลาว กัมพูชา
44. เพราะอะไรสิงคโปร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็กมีทรัพยากรน้อย แต่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าติดอันดับโลกได้
ก. ประชากรมีคุณภาพได้รับการศึกษาสูง
ข. มีประเทศอังกฤษให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ
ค. ทำเลที่ตั้งดีสามารถสร้างท่าเรือได้หลายแห่ง
ง. ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ตอบ ก.
สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพประชากรป็นอย่างมาก ชาวสิงคโปร์ได้รับการศึกษาสูง ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เมื่อประชากรมีคุณภาพสูง การพัฒนาประเทศก็ย่อมดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว
45. วัตถุประสงค์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รวมตัวเป็นกลุ่มอาเซียนสอดคล้องกับข้อใด
ก. สร้างอำนาจการต่อรองในเวทีการเมืองโลก
ข. ผนึกกำลังประเทศในภูมิภาคให้มั่นคงเข้มแข็ง
ค. รับมือปัญหาภัยคุกคามจากการก่อการร้าย
ง. ลดการพึ่งพิงสินค้าจากตะวันตกที่มีราคาแพง
ตอบ ข.
วัตถุประสงค์ของประชาชาติในเอเชียตะวันออกที่รวมเป็นอาเซียน ก็เพื่อผนึกกำลังกันให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งจะได้มีอำนาจต่อรองกับประเทศที่มีศักยภาพมากกว่า
46. พัฒนาการก้าวต่อไปของกลุ่มอาเซียนคืออะไร
ก. ตลาดร่วมอาเซียน
ข. สหภาพอาเซียน
ค. กลุ่มการค้าอาเซียน
ง. ประชาคมอาเซียน
ตอบ ง.
พัฒนาการก้าวต่อไปของอาเซียนก็คือ พัฒนาเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี พ.ศ.2558
47.“ เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาท มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล กำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบมหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ” คำบรรยายนี้พอจะบ่งบอกได้ว่าเป็นแหล่งมรดกโลกตามข้อใด
ก. ปราสาทนครวัด กัมพูชา
ข. เจดีย์บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย
ค. เทวาลัยปรัมบานัน อินโดนีเซีย
ง. เมืองโบราณฮอยอัน เวียดนาม
ตอบ ก.
จากข้อมูลสามารถระบุได้ว่าเป็นศาสนสถาน ซึ่งลักษณะของปราสาทที่บรรยายจะ มีความสอดคล้องกับลักษณะของปราสาทนครวัด ในประเทศกัมพูชา
48. เหตุผลสำคัญที่ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแหล่งอารยธรรมและมรดกโลกหลายแห่ง เนื่องจากอะไร
ก. มีวัตถุดิบสำหรับการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก
ข. เป็นดินแดนเก่าแก่มีผู้คนอาศัยอยู่กันมานาน
ค. ผู้คนชอบสร้างผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม
ง. ไม่ได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง
ตอบ ข.
เหตุผลที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแหล่งมรดกโลกอยู่มาก เพราะเป็นดินแดนเก่าแก่มีผู้คนตั้งรกรากอยู่กันมานาน การสั่งสมทางวัฒนธรรมจึงมีมาก
49. เมืองหลวงพระบางของลาว ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก เนื่องจากปัจจัยสำคัญในข้อใด
ก. วิถีชีวิตของผู้คนยังเปี่ยมด้วยน้ำใจไมตรี
ข. ทำเลที่ตั้งที่ยังคงความงดงามตามธรรมชาติ
ค. อาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพเดิมเหมือนครั้งอดีต
ง. ผู้คนยังยึดมั่นปฏิบัติตนตามคำสอนทางศาสนา
ตอบ ค.
การที่วัฒนธรรมสมัยใหม่ยังแพร่เข้าสู่หลวงพระบางได้น้อย ตึกรามอาคารบ้านช่องยังคงมีสภาพไม่ต่างไปจากเมื่อครั้งอดีต จึงทำให้หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกจากยูเนสโก
50. มรดกทางวัฒนธรรมในอดีตที่ยังคงมีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างเห็นได้เด่นชัดที่สุดคืออะไร
ก. ลักษณะการแต่งกายในชุดประจำชาติ
ข. รูปแบบการสร้างบ้านเรือนแบบทรงไทย
ค. การนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ง. วิธีปรุงยารักษาโรคโดยใช้พืชสมุนไพร
ตอบ ค.
การนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เป็นการนับถือต่อ ๆ กันจากรุ่นสู่รุ่น ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลมาจากครั้งสมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน