แนวข้อสอบอาสารักษาดินแดน อส
สำหรับท่านที่ อยากเตรียมสอบ
สอบบอาสารักษาดินแดน อส
หา คู่มือสอบบอาสารักษาดินแดน อส
หนังสือสอบบอาสารักษาดินแดน อส
ทาง NUDSOB ได้รวบรวม แบ่งปัน
ตัวอย่าง ข้อสอบบอาสารักษาดินแดน อส
เพื่อเป็นความรู้ และแนวทางในการสอบให้กับทุกๆท่าน
หมวดการรักษาความสงบเรียบร้อย
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง
และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
๑. “อาวุธปืน” หมายถึง
ตอบ ๑) หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง
๒) ส่วนสำคัญของอาวุธปืนที่ให้ถือว่าเป็นอาวุธปืนประกอบด้วย ลำกล้อง / เครื่องลูกเลื่อน /เครื่องลั่นไก / เครื่องส่งกระสุน / ซองกระสุน
๒. “เครื่องกระสุนปืน” หมายถึง
ตอบ หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด/ กระสุนปราย / กระสุนแตก / ลูกระเบิด / ตอร์ปิโด /ทุ่นระเบิดและจรวดทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดแก๊ส / เชื้อเพลิง / เชื้อโรค / ไอพิษ / หมอก / หรือควัน / หรือกระสุนที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันหรือเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน
๓. “วัตถุระเบิด” คือ
ตอบ ๑) วัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลันในเมื่อระเบิดขึ้นโดยมีสิ่งเหมาะมาทำให้เกิดกำลังดันหรือโดยการสลายตัวของวัตถุระเบิดนั้นทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหาร
๒) หมายความรวมตลอดถึงเชื้อปะทุต่างๆ หรือวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกันซึ่งใช้หรือทำให้เกิดการระเบิดซึ่งรัฐมนตรีจะได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา
๔. “ดอกไม้เพลิง” หมายถึง
ตอบ หมายความรวมตลอดถึงพลุ / ประทัดไฟ / ประทัดลมและวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน
๕. “สิ่งเทียมอาวุธปืน” หมายถึง
ตอบ สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน
๖. อาวุธปืนชนิดใดบ้างที่ไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.อาวุธปืน หรืออาวุธปืนที่ไม่ต้องขออนุญาตต่อนายทะเบียน
ตอบ ๑) อาวุธปืน / เครื่องกระสุนปืน / วัตถุระเบิด / ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนของหน่วยงาน ดังนี้
๑.๑ ราชการทหาร และตำรวจที่มีหรือใช้ในราชการ
๑.๒ หน่วยราชการที่มีหรือใช้เพื่อปูองกันประเทศ หรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑.๓ หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มีและใช้ในการปูองกันและรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ
๑.๔ ราชการทหารและตำรวจตามข้อ ๑.๑ หรือหน่วยราชการตามข้อ ๑.๒ ที่มอบให้ประชาชนมีและใช้เพื่อช่วยเหลือราชการทหาร และตำรวจหรือของหน่วยราชการแล้วแต่กรณี
๒) อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนประจำเรือเดินทะเล/รถไฟและอากาศยานตามปกติซึ่งได้แสดงและให้พนักงานศุลกากรตรวจตามกฎหมายแล้ว
๓) ดอกไม้เพลิงสัญญาณประจำเรือเดินทะเล / อากาศยานและสนามบินตามปกติ
๗. นายทะเบียนอาวุธปืน คือ
ตอบ ๑) ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ อธิบดีกรมการปกครอง
๒) ในจังหวัดอื่นได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด / นายอำเภอ
๘. คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนต้องมีถิ่นที่อยู่ในท้องที่ที่ขออนุญาตไม่น้อยกว่ากี่เดือน
ตอบ หกเดือน
๙. อาวุธปืนที่นายทะเบียนสามารถออกใบอนุญาตให้มีและใช้ได้คืออาวุธปืนชนิดใดบ้าง
ตอบ ๑) อาวุธปืนลำกล้องมีเกลียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน ๑๑.๔๔ ม.ม.
๒) อาวุธปืนลำกล้องไม่มีเกลียว
๒.๑ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง ๒๐ ม.ม.
๒.๒ ปืนบรรจุปาก / ปืนลูกซอง และปืนพลุสัญญาณ
๓) อาวุธปืนชนิดที่มีเครื่องกลไกสำหรับบรรจุกระสุนเองให้สามารถยิ่งซ้ำได้
๓.๑ ขนาดความยาวลำกล้องไม่ถึง ๑๖๐ ม.ม.
๓.๒ ปืนลูกซอง
๓.๓ ปืนลูกกรดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน ๕.๖ ม.ม.
๔) อาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องบังคับเสียงให้เบาผิดปกติ
๕) อาวุธปืนที่ไม่ใช้กระสุนปืนที่บรรจุวัตถุเคมีที่ทำให้เกิดอันตรายหรือเป็นพิษหรือไม่ใช้เครื่องกระสุนที่บรรจุเชื้อโรค เชื้อเพลิง หรือวัตถุกัมมันตภาพรังสี
๑๐. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน นายทะเบียนจะออกให้แก่บุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ใด
ตอบ ใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สินหรือในการกีฬาหรือยิ่งสัตว์
๑๑. ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนเพื่อเก็บให้นายทะเบียนออกได้สำหรับอาวุธปืนชนิดใด
ตอบ ๑) อาวุธปืนที่เห็นว่าชำรุดใช้ยิงไม่ได้
๒) อาวุธปืนแบบพ้นสมัย
๓) อาวุธปืนซึ่งได้รับเป็นรางวัลจากการแข่งขันยิงปืนในราชการโดยปืนประเภทนี้ห้ามยิงห้ามมีเครื่องกระสุนปืน
๑๒. วัตถุประสงค์ของการอนุญาตให้มีอาวุธปืนมี ๒ ประการ คือ
ตอบ ๑) มีไว้เพื่อใช้
๒) มีไว้เพื่อเก็บ
๑๓. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจอนุมัติให้นายทะเบียนท้องที่ออกหนังสืออนุญาตพิเศษอนุญาตให้แก่บุคคลที่ขออนุญาตให้ผู้อื่นมีและใช้อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับรักษาทรัพย์สินของตนคือผู้ใด
ตอบ ๑) ในกรุงเทพมหานคร คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
๒) ในจังหวัดอื่น คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
๑๔. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกหนังสืออนุญาตให้นำอาวุธปืน/เครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิดผ่านราชอาณาจักรคือผู้ใด
ตอบ ๑) ในกรุงเทพมหานคร คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
๒) ในจังหวัดอื่น คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
๑๕. การย้ายวัตถุระเบิดต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสืออนุญาตจากผู้ใดก่อน
ตอบ ๑) ปลัดกระทรวงมหาดไทย ย้ายระหว่างจังหวัด
๒) อธิบดีกรมการปกครอง ย้ายในเขตกรุงเทพฯ
๓) ผู้ว่าราชการจังหวัด ย้ายในเขตจังหวัด
๔) นายอำเภอ ย้ายในเขตอำเภอ
๑๖. บุคคลทั่วไปจะขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้ใด
ตอบ ๑) ในกรุงเทพมหานคร ข้าราชการระดับ ๖ ขึ้นไป
๒) ในจังหวัดอื่น ๆ นายอำเภอ/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ที่ผู้ขออนุญาตมีภูมิลำเนา
๑๗. เมื่อนายทะเบียนปฏิเสธการออกใบอนุญาตผู้ยื่นคำขออาจอุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ใดและมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ ๑) ยื่นอุทธรณ์ต่อ รมว.มท. ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปฏิเสธ
๒) ยื่นหนังสืออุทธรณ์ผ่านนายทะเบียนท้องที่
๓) นายทะเบียนท้องที่เสนอ รมว. มท. โดยไม่ชักช้า
๔) คำวินิจฉัยของ รมว.มท. ให้เป็นที่สุด
พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ๒๕๔๗
๑. โรงแรม หมายความถึง
ตอบ สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน ทั้งนี้ไม่รวมถึง
๑) สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราว ซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการ, รัฐวิสาหกิจ,องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อการกุศลหรือการศึกษาทั้งนี้โดยไม่ใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน
๒) สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการที่พักอาศัยโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น
๓) สถานที่พักอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๒. นายทะเบียนโรงแรม คือ
ตอบ ๑) ในเขตกรุงเทพ คืออธิบดีกรมการปกครอง
๒) ในจังหวัดอื่น คือผู้ว่าราชการจังหวัด
๓. พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจโรงแรม หรือเรียกผู้ประกอบการมาให้ถ้อยคำ คือผู้ใด
ตอบ ผู้ซึ่งนายทะเบียนแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามกฎหมายโดยแต่งตั้งจาก
๑) ข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่ชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป หรือ
๒) ข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ระดับสามขึ้นไป หรือ
๓) ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับสามขึ้นไป
๔. ประธานกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม คือผู้ใด
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
๕. ตัวแทนภาคเอกชนที่เข้ามาเป็นกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม มีใครบ้าง
ตอบ ๑) นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
๒) นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ ๓) นายกสมาคมโรงแรมไทย
๔) ผู้แทนสมาคมโรงแรมไทย ๕) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
๖. คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม มีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ ๑) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง กำหนดประเภทของโรงแรมและ
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง, ขนาด, ลักษณะ, สิ่งอำนวยความสะดวก หรือมาตรฐานการประกอบธุรกิจของโรงแรม
๒) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการออกประกาศกำหนดเขตท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเป็นเขตงดออกใบอนุญาต
๓) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ. นี้
๔) เสนอแผนและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมและการกำกับดูแลธุรกิจโรงแรม
๕) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงหรือประกาศตาม พ.ร.บ. นี้
๖) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ พ.ร.บ. นี้ หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
๗. นายทะเบียนโรงแรมมีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ ๑) สั่งระงับการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ผู้จัดการโรงแรม)
๒) นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วัน ซึ่งจะต้องไม่เกิน ๔ ครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
๓) นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมจัดหาที่พักให้แก่ผู้พัก
๔) เพิกถอนใบอนุญาตโรงแรม
๕) เพิกถอนใบรับแจ้งเป็นผู้จัดการ
๘. ผู้ขอรับใบอนุญาตโรงแรมต้องไม่เป็นผู้กระทำผิดโทษทางอาญาในความผิดฐานใดบ้าง
ตอบ ๑) ความผิดเกี่ยวกับเพศ
๒) ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
๓) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปูองกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก
๔) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการปูองกันและปราบปรามการค้าประเวณี
๙. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมมีอายุกี่ปี
ตอบ ๕ ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
๑๐. การตั้งชื่อโรงแรมต้องเป็นไปตามหลักการอย่างไร
ตอบ ๑) ต้องเป็นอักษรไทยที่มองเห็นได้ชัดเจน
๒) แต่จะมีอักษรต่างประเทศกำกับไว้ท้ายหรือใต้ชื่ออักษรไทยด้วยก็ได้
๓) จะต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือองค์พระรัชทายาท
๔) ต้องไม่ซ้ำหรือพ้องกับชื่อโรงแรมอื่นที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมนั้น
๕) ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
๑๑. เมื่อผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วถึงจะดำเนินการใดได้
ตอบ ๑) เปลี่ยนแปลงประเภทของโรงแรม
๒) เพิ่มหรือลดจำนวนห้องพักในโรงแรมอันมีผลกระทบถึงโครงสร้างของโรงแรม
๓) เปลี่ยนชื่อโรงแรม
๑๒. การกำหนดเขตท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเป็นเขตงดออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือสภาพแวดล้อมรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม มีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเป็นเขตงดออกใบอนุญาตได้
๑๓. การแจ้งคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งพักถอนใบอนุญาตต้องแจ้งโดยวิธีใด
ตอบ ๑) ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หรือผู้จัดการแล้วแต่กรณี ณ โรงแรมที่บุคคลดังกล่าวประกอบธุรกิจหรือจัดการ
๒) ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หรือผู้จัดการได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วเมื่อครบกำหนด ๗ วันนับแต่วันส่งเว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับ หรือได้รับก่อน หรือหลังจากวันนั้น
๑๔. เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต, ไม่ต่ออายุใบอนุญาต, สั่งพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตคู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของนายทะเบียนต่อผู้ใด อย่างไร
ตอบ อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หรือรับทราบคำสั่งของนายทะเบียน
๑๕. โทษปรับทางปกครองกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโรงแรม คือ
ตอบ โทษปรับทางปกครองสูงสุดไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท และปรับวันละไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.๒๕๐๙
๑. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.๒๕๐๙ ใช้บังคับอย่างไร
ตอบ ๑) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานคร
๒) หากจะให้ใช้บังคับในท้องที่อื่นใดนอกเขตกรุงเทพฯให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
๒. ความหมายของ “สถานบริการ” ตาม พ.ร.บ. นี้ คือ สถานเต้นรำซึ่งเปิดบริการเป็นการค้าเป็นอาชีพปกติและตามคำนิยามดังนี้
ตอบ สถานที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยแจ้งประโยชน์ทางการค้าดังต่อไปนี้
๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง เป็นปกติธุระประเภทที่มีและไม่มีคู่บริการ
๒) สถานที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการโดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า
๓) สถานอาบอบนวดหรืออบตัวซึ่งมีบริการให้แก่ลูกค้าเว้นแต่
(ก) สถานที่ซึ่งผู้บริการได้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทยตามกฎหมายดังกล่าวหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(ข) สถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งจะต้องมีลักษณะของสถานที่การบริการหรือผู้ให้บริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศดังกล่าวจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้นด้วยก็ได้ หรือ
(ค) สถานที่อื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
๔) สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย หรือให้บริการโดยมีรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) มีดนตรี, การแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงและยินยอมหรือ
(ข) ปล่อยปละละเลยให้นักร้องนักแสดงหรือพนักงานอื่นนั่งกับลูกค้า
(ค) มีการจัดอุปกรณ์การร้องเพลงประกอบดนตรีให้แก่ลูกค้าโดยจัดให้มีผู้บริการขับร้องกับลูกค้าหรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้พนักงานอื่นนั่งกับลูกค้า
(ค) มีการเต้นหรือยินยอมให้มีการเต้น หรือจัดให้มีการแสดงเต้น เช่น การเต้นบนเวที หรือการเต้นบริเวณโต๊ะอาหาร หรือเครื่องดื่ม
(ง) มีลักษณะของสถานที่การจัดแสงหรือเสียงหรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวง
๕) สถานที่มีอาหาร, สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายโดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงซึ่งปิดทำการหลัง ๒๔.๐๐ น.
๖) สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๓. ร้านอาหารที่จำหน่ายสุราซึ่งปิดทำการก่อน ๒๔.๐๐ น. เป็นสถานบริการหรือไม่
ตอบ ไม่เป็นสถานบริการเพราะเป็นเพียงร้านอาหารที่มีการจำหน่ายสุราแต่ไม่ได้มีการจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอย่างอื่น เพื่อการบันเทิงรวมทั้งปิดให้บริการก่อน ๒๔.๐๐ นาฬิกา
๔. ร้านนวดแผนโบราณซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะเป็นสถานบริการหรือไม่
ตอบ ไม่เข้าข่ายเป็นสถานบริการ เพราะยกเว้นตามข้อ ๒.๓) (ก) ดังกล่าวข้างต้น
๕. พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. สถานบริการในเขตจังหวัดนอกกรุงเทพฯ คือ
ตอบ ๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด
๒) ในเขตกรุงเทพฯให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
๖. คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตตั้งสถานบริการ คือ
ตอบ ๑) อายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์
๒) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรม
๓) ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
๔) ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม, โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือโรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง
๕) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศตามกฎหมายอาญาในความผิดกฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง, ตามกฎหมายว่าด้วยการปรามการทำให้แพร่หลายและการค้าวัตถุอันลามกหรือตามกฎหมายว่าด้วยการปรามการค้าประเวณี
๖) กรณีนิติบุคคลที่ขออนุญาตตั้งสถานบริการผู้แทนของนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติเหมือนบุคคลธรรมดาที่ขออนุญาตตั้งสถานบริการด้วย
๗. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ตั้งของสถานบริการในการขออนุญาตตั้งสถานบริการคือ
ตอบ ๑) ไม่อยู่ใกล้ชิดวัด, สถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา, โรงเรียน หรือ
สถานศึกษา, โรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน, สโมสรเยาวชน หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วย
หอพักในขนาดที่เห็นได้ว่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สถานที่ดังกล่าว
๒) ไม่อยู่ในย่านที่ประชาชนอยู่อาศัย อันจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
๓) มีทางถ่ายเทอากาศสะดวก
๘. การขออนุญาตตั้งสถานบริการหากอาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งสถานบริการเป็นของบุคคลอื่น ผู้ขออนุญาตจะต้องดำเนินการอย่างไร จึงจะสามารถขออนุญาตจัดตั้งสถานบริการได้
ตอบ ๑) ขอให้เจ้าของอาคาร หรือเจ้าของสถานที่ทำหนังสือให้ความยินยอมในการใช้อาคาร หรือสถานที่ดังกล่าว
๒) ขอให้เจ้าของอาคาร หรือสถานที่ทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือยินยอมว่าให้เช่าอาคารสถานที่ดังกล่าวเพื่อตั้งเป็นสถานบริการ
๙. คำขออนุญาตตั้งสถานบริการนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาสั่งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในกี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต
ตอบ ๙๐ วัน
๑๐. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการใช้ได้ถึงเมื่อใด
ตอบ ๑) ใบอนุญาตให้ใช้ได้ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต
๒) ตัวอย่างเช่นหากผู้ขออนุญาตขออนุญาตในเดือนกันยายน ๒๕๕๑ แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตให้ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ในอนุญาตนี้จะใช้ได้เพียง ๓ เดือนเท่านั้น เมื่อถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ใบอนุญาตก็หมดอายุผู้ขออนุญาตจะต้องขอต่อใบอนุญาตนั้นใหม่
พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.๒๔๗๘
๑. การพนันที่ห้ามมิให้มีการอนุญาตจัดให้มีหรือเข้าเล่นหรือเข้าพนันอย่างเด็ดขาด คือ
ตอบ การพนันอันระบุไว้ในบัญชี ก.ไม่สามารถออกใบอนุญาตได้เลย
๒. การพนันตามบัญชี ก.ซึ่งไม่สามารถอนุญาตให้มีการเล่นได้ คือ
ตอบ ๑) หวย ก. ข., ปั่น, โปกำ, ถั่ว, แปดเก้า, จับยี่กี, ต่อแต้ม
๒) เบี้ยโบก, ไพ่สามใบ, ไม้สามอัน, ช้างงา, ไม้ดำไม้แดง, อีโปงครอบ, กำตัด
๓) ไม้หมุน หรือล้อหมุนทุก ๆ อย่าง, หัวโต หรือขายภาพ, โยนจิ่ม, สี่เหงาลัก
๔) การเล่นซึ่งมีการทรมานสัตว์, น้ำเต้าทุกชนิด, ไฮโลว์, อีก้อย, ปั่นแปะ, บาการา, สล๊อทแมชีน,บิลเลียดรู้, ตีผี
๓. การเล่นพนันที่เจ้าพนักงานสามารถออกใบอนุญาตให้มีการเล่นการพนันได้
ตอบ การเล่นอันระบุไว้ในบัญชี ข. หรือการเล่นซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน หากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตเห็นสมควรให้ออกใบอนุญาตให้
๔. การเล่นการพนันตามบัญชี ข. คือ
ตอบ ๑) ชนใด, ชนไก, กัดปลา, แข่งม้า, มวยปล้ำ, แข่งเรือพุ่ง
๒) ชี้รูป, โยนห่วง, โยนสตางค์วัตถุใด ๆ ลงภาชนะ, ตกเบ็ด, จับสลากโดยวิธีใด ๆ
๓) ยิงเป้า, ปาหน้าคน, บิงโก, สลากกินแบ่ง, สลากกินรวบ, ไพ่นกกระจอก, ไพ่ต่าง ๆ
๔) บิลเลียด, สะบ้าทอย, สะบ้าชุด, ฟุตบอลโต๊ะ, เครื่องเล่นซึ่งใช้เครื่องกล/พลังไฟฟูา/พลังแสงสว่างหรือพลังอื่นใดที่ใช้เล่นโดยวิธีสัมผัสเลื่อนกดคือดึงดันยิงโยนโยกหมุนหรือวิธีอื่นใด ซึ่งสามารถทำให้แข่งชนะกันได้
๕. ตาม พ.ร.บ.การพนัน กำหนดบทสันนิษฐานไว้อย่างไรบ้าง
ตอบ ๑) ผู้ใดจัดให้มีการเล่น ซึ่งปกติย่อมพนันเอาเงิน หรือทรัพย์สินอย่างอื่นแก่กันก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเล่นการพนัน
๒) สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการเล่นก็ให้สันนิษฐานว่าเล่นการพนันด้วยเช่นกัน
๓) บทสันนิษฐานไม่ให้รวมถึงผู้ซึ่งเพียงแต่ดูการเล่นในงานรื่นเริงสาธารณะหรืองานนักขัตฤกษ์ หรือในที่สาธารณะว่าเป็นผู้เล่นการพนันด้วย
๖. ปกติการอนุญาตให้มีการเล่นพนัน จะต้องกำหนดห้ามไม่ให้บุคคลอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์
หรือไม่บรรลุนิติภาวะเข้าเล่นด้วย ยกเว้นการเล่นใดไม่ได้กำหนดห้ามไว้
ตอบ สลากกินแบ่ง
๗. ตาม พ.ร.บ.การพนันในอนุญาตทุกฉบับต้องกำหนดเงื่อนไขใดไว้
ตอบ ๑) ลักษณะข้อจำกัด และเงื่อนไขของการเล่นการพนันโดยชัดแจ้ง
๒) สถานที่ วัน เดือน ปี และกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เล่น
๓) ถ้าเป็นใบอนุญาตสลากกินแบ่ง, สลากกินรวบให้ระบุจำนวนสลากที่ขายกับสถานที่ วัน และเวลาที่จะออกด้วย
๔) จำนวนบุคคลผู้จะเข้าเล่น ที่กำหนด ที่กำหนดเงื่อนไข และไม่ให้บุคคลอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์หรือไม่บรรลุนิติภาวะเข้าเล่น
๕) ตามข้อ ๔) ยกเว้นการเล่นตามบัญชี ข. หมายเลข ๑๖ ซึ่งก็คือ สลากกินแบ่ง, สลากกินรวบ หรือการเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
๘. ผู้ที่ขายสลากกินแบ่ง (ซึ่งยังไม่ได้ออกรางวัล) เกินกว่าราคาที่กำหนดในสลากมีความผิดต้องระวางโทษเท่าใด
ตอบ จำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๙. ผู้ที่เข้าร่วมเล่นพนันโปปั่นในฐานะลูกค้า ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานที่ทราบนัดต้องระวางโทษเท่าใดผิดต้องระวางโทษเท่าใด
ตอบ ๑) จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒) หากเล่นการพนักอย่างอื่น เช่น ตามบัญชี ข. โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปีหรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และโทษจะได้รับเท่าใด ขึ้นอยู่กับลักษณะของการพนันด้วย
๑๐. บุคคลใดเป็นเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตเล่นการพนันตามบัญชี ข. ในเขตกรุงเทพฯ
ตอบ ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
พ.ศ.๒๔๗๔
๑. ของเก่า หมายถึง
ตอบ ทรัพย์ที่เสนอขาย, แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้รวมถึงของโบราณด้วย
๒. การดำเนินการประกอบอาชีพการขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าที่ดำเนินการได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานคือกรณีใด
ตอบ ๑) การขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์ของสมาคมหรือสาธารณประโยชน์ที่รัฐมนตรีสั่งอนุญาตให้ดำเนินการเฉพาะกรณี
๒) การขายทอดตลาดที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ขาย
๓. ผู้ประกอบอาชีพที่ถือว่าเป็นการประกอบอาชีพค้าของเก่า คือ
ตอบ ๑) ร้านที่ขายหรือรับแลกเปลี่ยน เพชร พลอย ทองนาก เงิน หรืออัญมณี
๒) ร้านขายรถยนต์มือสอง
๓) ร้านรับซื้อเศษกระดาษ,ขวด หรือพลาสติกใช้แล้ว
๔. ผู้ที่จะขอใบอนุญาตประกอบอาชีพค้าของเก่าต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
ตอบ ๑) มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
๒) มีความรู้หนังสือไทยพออ่านออกเขียนได้
๓) เป็นผู้ที่ไม่เคยรับโทษจำคุกตามกฎหมายลักษณะอาญา ภาค ๒ ส่วนที่ ๕ หมวดที่ ๕ – ๘ และส่วนที่ ๙ หมวดที่ ๑-๖ คือความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์, วิ่งราวทรัพย์, กรรโชกทรัพย์,รีดทรัพย์, ชิงทรัพย์, การฉ้อโกง, โกงเจ้าหนี้, ยักยอกทรัพย์ และรับของโจร
๕. กรณีใบอนุญาตประกอบอาชีพค้าของเก่าสูญหายผู้รับใบอนุญาตจะต้องขอรับใบแทนจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตภายในเวลาเท่าใด
ตอบ ภายใน ๗ วันนับแต่สูญหาย
๖. การขายทอดตลาดกำหนดให้ผู้ขายทอดตลาดจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ๑) แสดงคำแจ้งความแห่งการขายทุกคราวไว้ ณ สถานที่ขายให้เห็นได้ชัดแจ้ง
๒) อยู่ ณ ที่ขายในเวลาขายทอดตลาด และพร้อมที่จะแสดงใบอนุญาตต่อนายตรวจ เพื่อเรียกตรวจ
๓) มีสมุดบัญชีสำหรับการขายทุกคราว และจดรายการข้อสำคัญทั้งปวงแห่งการขายนั้น ๆ ลงไว้
๔) แจ้งวันและสถานที่ขายให้นายตรวจทราบล่วงหน้า อย่างน้อย ๓ วันเต็ม
๕) แสดงนามของตนและคำว่า “ ผู้ทอดตลาด” ไว้เหนือประตูชั้นนอกสำนักงาน
๗. การค้าของเก่ากำหนดให้ผู้ค้าของเก่าต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ๑) แสดงนามของตน และคำว่าผู้ค้าของเก่าไว้ ณ ที่ทำการค้าของตนพร้อมใบอนุญาตในที่อันเห็นได้แจ้ง
๒) มีสมุดบัญชีสำหรับการค้าของตน และจดรายการข้อสำคัญทั้งปวงแห่งการค้างลงไว้ทุกราย ซึ่งสมุดบัญชีตามที่กล่าวนี้ต้องทำตามแบบ และนำมาให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตลงนาม และประทับตราก่อนทุกเล่ม
๓) แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือนายตรวจเมื่อถึงเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์ที่ผู้มาเสนอ หรือโอนให้ตนนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทุจริต
๔) ทำเลขลำดับเป็นเครื่องหมายปิดไว้ที่สิ่งของให้ตรงกับเลขลำดับในสมุดบัญชี เพื่อสะดวกในการสำรวจ
๘. กรณีเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตค้าของเก่ามีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แล้ว สามารถยื่นคำร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งของเจ้าพนักงานได้ภายในกี่วัน
ตอบ ๑๐ วันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งเจ้าพนักงาน
๙. ใบอนุญาตค้าของเก่ามีอายุเท่าใด
ตอบ ใบอนุญาตค้าของเก่าใช้ได้เพียง วันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี
๑๐. ผู้ประกอบอาชีพขายทอดตลาดและค้าของเก่าโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดอย่างไร
ตอบ ๑) จำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒) แต่หากการขายทอดตลาด หรือค้าของเก่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นของประเภทโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.๒๕๐๕
๑. “โรงรับจำนำ” หมายความว่า
ตอบ สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระแต่ละรายการมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาทและหมายความรวมถึงการรับซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปกติธุระแต่ละรายการมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรง หรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย
๒. “ผู้รับจำนำ” หมายถึง
ตอบ ผู้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ
๓. คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำมีจำนวนเท่าใด
ตอบ ๖ คน
๔. คณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ ๑) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ
๒) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, อัยการสูงสุด, อธิบดีกรมการปกครอง, อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นกรรมการ
๓) หัวหน้ากองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
๕. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ
ตอบ ๑) กำหนดท้องที่ที่จะอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำ
๒) กำหนดจำนวนโรงรับจำนำในท้องที่ที่เห็นสมควร
๓) พิจารณาคำขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำ หรือคำขอย้ายสถานที่ตั้งโรงรับจำนำ
๖. กรรมการจำนวนเท่าใดของคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำจึงจะถือเป็นองค์ประชุม
ตอบ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
๗. คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำหรือกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคล มีดังนี้
ตอบ ๑) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี
๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
๓) ไม่เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
๔) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ
๕) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
๖) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
๗) ไม่มีพฤติการณ์อันจะก่อการทำลายเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ
๘. กรณีคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำไม่อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำจัดตั้งโรงรับจำนำผู้ขออนุญาตมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อใคร
ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๙. การอุทธรณ์คำสั่งตามข้อ ๘. ต้องอุทธรณ์ภายในกี่วัน
ตอบ ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่อนุญาตและให้ถือว่าคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีเป็นที่สุด
๑๐. ในอนุญาตตั้งโรงรับจำนำใช้ได้ถึงวันที่เท่าไร
ตอบ ใช้ได้ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต
พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.๒๔๘๗
๑. “การเรี่ยไร” ในความหมายปกติ และความหมายตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเรี่ยไร คือ
ตอบ ๑) ความหมายปกติคือการเก็บเงินหรือทรัพย์สินโดยขอร้องให้ช่วยออกเงิน หรือทรัพย์สินตามใจสมัคร
๒) ความหมายตาม พ.ร.บ. คือหมายความรวมตลอดถึง การซื้อขาย, แลกเปลี่ยน, ชดใช้ หรือบริการซึ่งมีการแสดงโดยตรง หรือปริยายว่ามิใช่เป็นการซื้อขาย, แลกเปลี่ยน, ชดใช้หรือบริการธรรมดาแต่เพื่อรวบรวมทรัพย์ที่ได้มาทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นด้วย
๒. ข้อห้ามไม่ให้จัดให้มีการเรี่ยไร หรือทำการเรี่ยไรมีอะไรบ้าง
ตอบ ๑) การเรี่ยไร เพื่อรวบรวมทรัพย์สินมาให้ หรือชดใช้แก่จำเลย
๒) การเรี่ยไร อันอาจเป็นเหตุเสื่อมทรามแก่ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
๓) การเรี่ยไร อันอาจเป็นเหตุกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงถึงทางสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ
๔) การเรี่ยไร เพื่อจัดหายุทธภัณฑ์ให้แก่ต่างประเทศ
๓. การเรี่ยไร เพื่อรวบรวมทรัพย์สินมาให้ หรือชดใช้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าปรับนั้นโดยปกติเป็นข้อห้ามมิให้ทำการเรี่ยไร แต่มีข้อยกเว้นให้ทำการเรี่ยไรได้ในกรณีใด
ตอบ ให้ทำการเรี่ยไรได้ในระหว่างวงศ์ญาติของจำเลยเท่านั้น
๔. การเรี่ยไร เพื่อสาธารณกุศล, เพื่อประโยชน์ของทางราชการ, เพื่อประโยชน์ของทางเทศบาลต้องขออนุญาตหรือไม่
ตอบ ต้องขออนุญาต และได้รับอนุญาตก่อนจึงจะเรี่ยไรได้
๕. การเรี่ยไร เพื่อประโยชน์ของทางราชการ หากจะจัดให้มีการเรี่ยไรจะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
ตอบ คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร
๖. คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรมีกี่คน
ตอบ ๗ คน
๗. คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร มีผู้ใดเป็นประธาน ประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ ๑) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็น ประธานโดยตำแหน่ง
๒) ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ๑ คน
๓) ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ๑ คน
๔) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ๑ คน
๕) ผู้แทนกระทรวงการคลัง ๑ คน
๖) ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๑ คน
๗) ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ๑ คน
๘. การประชุมของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร มีองค์ประกอบการประชุมเท่าใด
ตอบ ไม่น้อยกว่า ๔ คน
๙. การเรี่ยไรในถนนหลวง หรือในที่สาธารณะจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใด
ตอบ พนักงานเจ้าหน้าที่
๑๐. พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้มีการเรี่ยไรในถนนหลวงหรือในที่สาธารณะในเขตกรุงเทพฯ คือ
ตอบ ๑) อธิบดีกรมการปกครอง
๒) หากเป็นนอกเขตกรุงเทพฯ คือ นายอำเภอ
๑๑. การเรี่ยไรที่ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร และพนักงานเจ้าหน้าที่ คือกรณีใดบ้าง
ตอบ ๑) การเรี่ยไรในถนนหลวง หรือในที่สาธารณะ, การเรี่ยไรโดยโฆษณาสิ่งพิมพ์, ด้วยวิทยุกระจายเสียงหรือด้วยเครื่องเสียงจะจัดให้มี หรือทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
๒) การเรี่ยไรเพื่อประโยชน์ของทางราชการ, เทศบาล หรือสาธารณประโยชน์ จะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรไม่ใช่จากพนักงานเจ้าหน้าที่
๑๒. หากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจะอนุญาตให้บุคคลใดทำการเรี่ยไรเพื่อประโยชน์ของทางราชการคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรสามารถกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตอย่างไร
ตอบ ๑) จำนวนเงิน หรือทรัพย์สินอื่นอย่างสูงที่ให้เรี่ยไรได้
๒) เขต หรือสถานที่และเวลาที่อนุญาตให้ทำการเรี่ยไร
๓) วิธีเก็บรักษา และทำบัญชีเงิน หรือทรัพย์สินที่เรี่ยไรได้
๔) วิธีทำการเรี่ยไร
๕) วันสิ้นอายุแห่งใบอนุญาตต้องกำหนดในการอนุญาตส่วนข้อ ๑) – ๔) เป็นเงื่อนไขคณะกรรมการอาจไม่กำหนดก็ได้
๑๓. กรณีที่นายอำเภอไม่อนุญาตให้บุคคลทำการเรี่ยไร ผู้ขออนุญาตทำการเรี่ยไรต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ๑) กรณีที่นายอำเภอ (พนักงานเจ้าหน้าที่) ในเขตจังหวัดนอกเขตกรุงเทพฯ สั่งไม่อนุญาตผู้ขออนุญาตมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจังหวัดและคำชี้ขาดของคณะกรรมการจังหวัดให้เป็นที่สุด
๒) สำหรับกรณีการขออนุญาตอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หากอธิบดีกรมการปกครองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งไม่อนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น คำชี้ขาดของคณะกรรมการให้ถือเป็นที่สุดเช่นกัน